ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตตามการเติบโตของประชากรสูงอายุในสังคมไทย และประชากรของกลุ่ม Sandwich Generation ที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจในตลาดสินค้าผู้สูงอายุโดยหลักแล้วจะเป็นลูกหลานในกลุ่ม Sandwich generation ซึ่งผู้สูงอายุจะมีส่วนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์น้อยกว่าลูกหลาน ดังนั้นการวิเคราะห์ว่าสินค้าใดจะเป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องเริ่มจากการพิจารณาว่าลูกหลานมีความกังวลเกี่ยวกับผู้สูงอายุในเรื่องใดบ้าง การเก็บข้อมูลของ Crowdabout จากการสอบถามลูกหลานที่มีผู้สูงอายุในความดูแล จำนวน 300 คน พบว่า ปัญหาหลักที่ลูกหลานกังวลเกี่ยวกับผู้สูงอายุล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ โดยปัญหาอันดับหนึ่งคือ การหกล้ม ตามมาด้วยเรื่องของอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน และปัญหาเรื่องความเครียดหรืออาการซึมเศร้า ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุที่จะมีความต้องการในตลาดมาก จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เข้ามาช่วยบรรเทาความกังวลของลูกหลานในเรื่องการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุนั่นเอง ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์ติดตามผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่ได้รับความสนใจและมีความต้องการในตลาด คือ อุปกรณ์ติดตามผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยดูแล เฝ้าระวัง หรือส่งสัญญาณเตือน โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1. อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนสำหรับผู้สูงอายุ (Personal alarm) คืออุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถสวมใส่หรือพกพาได้ง่าย อาจอยู่ในรูปแบบสายรัดข้อมือ นาฬิกาข้อมือ หรือพวงกุญแจ โดยผู้สูงอายุสามารถใช้อุปกรณ์ประเภทนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เช่น ลื่นล้ม หลงทาง หรือต้องการความช่วยเหลืออื่น ๆ แต่ไม่มีใครอยู่ใกล้ ผู้สูงอายุก็สามารถส่งสัญญานเตือนให้ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับรู้หรือส่งข้อความแจ้งเตือนให้กับทีมช่วยเหลือ…
ครีมซองถือเป็นสินค้ายอดนิยมสำหรับผู้บริโภคหลายกลุ่ม เพราะครีมซองสามารถพกพาได้ง่ายและใช้งานได้สะดวก จึงทำให้ ผู้ประกอบการในธุรกิจครีมซอง หลายรายสนใจที่จะเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้เล่นของธุรกิจนี้ Crowdabout จึงได้รวบรวม 4 เรื่อง ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ก่อนตัดสินใจผลิตครีมซองมาให้แก่ผู้อ่าน เพื่อที่จะได้นำไปพิจารณาต่อว่า ถ้าหากต้องการผลิตครีมซองแล้ว ควรจะมีกลยุทธ์แบบใดเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในตลาด 1. การออกผลิตภัณฑ์ครีมซองต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน ก่อนที่จะเริ่มผลิตครีมซอง คุณต้องมองเห็นภาพของลูกค้าให้ชัดก่อนว่าคุณทำสินค้านั้นมาเพื่ออะไร ให้ลูกค้าใช้ในโอกาสใด และลูกค้าจะมาซื้อด้วยอารมณ์แบบใด เมื่อทำเช่นนั้นแล้วจะทำให้คุณสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำการตลาด และช่องทางการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น หากคุณต้องการทำครีมกันแดดแบบครีมซอง การวางขายในร้านสะดวกซื้อตามแหล่งท่องเที่ยวอย่างเช่น ทะเล ภูเขา แทนที่จะวางขายในห้างสรรพสินค้าก็ถือเป็นกลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มลูกค้าที่น่าสนใจ เพราะมีค่าชั้นวางถูกกว่า คู่แข่งน้อยกว่า และลูกค้ามีความจำเป็นต้องซื้อสินค้ามากกว่า 2. ต้องเลือกผลิตเพื่อลูกค้าเพียงกลุ่มเดียว เมื่อต้องการจะผลิตครีมซอง คุณควรโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะสามารถผลิตสินค้าที่ถูกใจคนหลายกลุ่มไปพร้อม ๆ กันได้ เพราะลูกค้าในแต่ละกลุ่มมีแรงจูงใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ และมีรสนิยมที่แตกต่างกัน หลายครั้งที่เราเห็นว่าผู้ประกอบการพยายามที่จะทำผลิตภัณฑ์ให้ทุกคนถูกใจ แต่ส่วนใหญ่มักจบลงที่ผลิตภัณฑ์ไม่มีความโดดเด่น และไม่มีลูกค้ากลุ่มใดเลยที่รู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาเพื่อตน 3. ต้องรู้ก่อนว่ากำลังแข่งกับใคร ในตลาดที่กว้างและหลากหลายอย่างตลาดครีมซอง คุณไม่ได้แข่งกับทุกคนในตลาด แต่คุณแข่งกับแบรนด์ที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับคุณเท่านั้น อย่างหนึ่งที่แบรนด์ต้องรู้คือ อยู่ตำแหน่งไหนในตลาด ผลิตภัณฑ์ของคุณน่าสนใจไหม เพื่อให้คุณรู้ว่าคุณกำลังแข่งกับใคร ใครเป็นคู่แข่งที่ของคุณ จากการสำรวจตลาดของ Crowdabout…
ตลาดสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุของไทยเติบโตขึ้นทุกปีด้วยประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุกว่า 9 ล้านคน ประกอบกับอัตราการเติบโตในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กว่า 50% และในไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะถือว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ นักธุรกิจจำนวนมากจึงเริ่มมองหาโอกาสในตลาดนี้ ซึ่ง Crowdabout ได้รับโจทย์จากลูกค้าที่คล้ายกันคือ ต้องการศึกษาตลาดและวิเคราะห์ตลาดของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว โดยมีไอเดียสินค้าหรือบริการที่อยากจะขายยอดนิยมคือ บ้านพักผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยดูแลผู้สูงอายุ และอาหารเสริมสกินแคร์ต่าง ๆ จากการเก็บข้อมูลผู้บริโภคในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคนที่ดูแลผู้สูงอายุจำนวนหลายร้อยคน ประกอบกับการศึกษาตลาดและวิเคราะห์ตลาดสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ทำให้เราได้ข้อสรุปในภาพรวมของกลุ่มเป้าหมายและแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของตลาดผู้สูงอายุ เพื่อเป็นข้อมูลให้นักธุรกิจที่สนใจในตลาดผู้สูงวัยนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจต่อไป ตลาดผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากตลาดอื่น ๆ มาก เพราะผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้ที่ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการด้วยตัวเองทั้งหมด การทำผลิตภัณฑ์หรือทำการตลาดเพื่อให้ถูกใจผู้สูงอายุที่เป็นคนใช้งานจึงอาจไม่ใช่หนทางของการประสบความสำเร็จ กลุ่มเป้าหมายที่ควรคำนึงถึงสำหรับตลาดผู้สูงอายุ 1. ผู้สูงอายุ จากการศึกษาในหลายประเทศรวมถึงการศึกษาของ Crowdabout พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะใช้จ่ายเงินเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ในช่วงเวลาว่าง เช่น ป้าเจี๊ยบผู้เอาชนะมะเร็งด้วยสเก็ตบอร์ด แทนที่จะใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อของหรือเพื่อการลงทุน โดยสิ่งที่ผู้สูงอายุมีความกังวลมากที่สุดคือการดูแลตัวเองไม่ได้และเป็นภาระแก่ลูกหลาน ดังนั้นหากคุณต้องการให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ การคำนึงถึงสิ่งที่ผู้สูงอายุให้คุณค่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยสินค้าหรือบริการนั้นต้องสามารถตอบโจทย์และเพิ่มคุณค่าของผู้สูงอายุด้วยการทำให้พวกเขารู้สึกว่าสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น และได้ใช้เวลาอย่างมีคุณค่ามากขึ้น 2. คนดูแลผู้สูงอายุ ลูกหลาน หรือ Sandwich Generation คนกลุ่มนี้มักจะบอกว่าตัวเองยุ่งอยู่ตลอดเวลา เพราะต้องดูแลทั้งเรื่องเงินไปจนถึงคุณภาพชีวิตของพ่อแม่ สามี/ภรรยา…
ลูกค้าของเราคือบริษัทสกินแคร์ระดับประเทศที่มียอดขายหลายร้อยล้านบาทต่อปี โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมากระแสครีมซองเป็นที่นิยมและมีความต้องการซื้อจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าของเราเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดและได้มีการผลิตครีมซองเป็นสินค้าออกมาวางจำหน่ายในท้องตลาด Challenges สิ่งที่ลูกค้าของเราพบคือ ยอดขายของครีมซองจะสูงในช่วงออกผลิตภัณฑ์ระยะแรกและค่อย ๆ ลดลง เป็นวัฎจักรเช่นนี้เสมอเมื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด ทำให้ลูกค้าถูกสถานการณ์ดังกล่าวบีบบังคับให้ออกครีมซองใหม่ ๆ สู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อพยุงยอดขายในกลุ่มสินค้าครีมซอง การออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องทำให้มีต้นทุนทั้งในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สูง ส่งผลให้ลูกค้าของเราเกิดคำถามและต้องการคำแนะนำว่า แบรนด์ควรจะผลิตครีมซองออกสู่ตลาดอีกหรือไม่ ถ้าหากผลิตต่อจะมีแนวทางที่ทำให้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลงและมียอดขายที่สูงขึ้นได้อย่างไร ? Process Framework เริ่มต้นจากการมองภาพตลาดจากใหญ่ไปเล็ก โดยศึกษาตลาดครีมซองในประเทศไทยและผลิตภัณฑ์ที่มีในตลาดทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงขนาดตลาดไปจนถึงสภาพการแข่งขันในภาพรวม จากนั้นศึกษาลงลึกในรายละเอียดของครีมซองที่ขายดีอันดับต้น ๆ ว่าขายดีมานานเท่าไร มีจุดขายอย่างไร และมีความแตกต่างอย่างไรกับครีมซองอื่น ๆ ในตลาด ขั้นตอนต่อมาคือ การเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับครีมซองในภาพรวม ครีมซองที่ขายดี และครีมซองของบริษัทลูกค้าเรา รวมถึงความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อครีมซองที่จะลองซื้อมาใช้และใช้อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาทั้งหมดจะทำให้ทราบถึงสภาวะตลาด แนวโน้มการเติบโตของตลาด ปัจจัยที่ทำให้ครีมซองประสบความสำเร็จ และจุดแข็ง-จุดอ่อนของครีมซองลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นในลำดับต่อไป Methodology Market and Competitor Research รวบรวมข้อมูลครีมซองที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อชั้นนำ โดยเป็นครีมซองที่มียอดขายหรือได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มเพศหญิง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวบรวมข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การทำการตลาดของครีมซองแต่ละแบรนด์ Quantitative and Qualitative Survey เก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวน…
ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิง ในปัจจุบันถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากลำพังมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์ความงามเพียงอย่างเดียวมีมูลค่าสูงถึง 8 หมื่นล้านบาทและมีการเติบโตสูงขึ้นทุกปี มีผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงออกใหม่มากมายหลายประเภท คุณสมบัติ และรูปแบบการใช้งาน ผู้บริโภคจึงมักเจอกับสถานการณ์ “Paradox of Choice” หรือ “การมีตัวเลือกมากเกินไป” การจะทำให้ผลิตภัณฑ์ขายได้ในสถานการณ์แบบนี้ จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความตรงใจผู้บริโภค และต้องวางกลยุทธ์การตลาดให้โดดเด่นออกมาจากเหล่าสินค้าคู่แข่งในตลาดที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นการทำวิจัยตลาดและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การวิจัยตลาด (Market research) และการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายโดยใช้แบบสอบถาม (Customer survey) เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาหรือเริ่มผลิตสินค้า รวมไปถึงการทำการตลาดกับสินค้าต่าง ๆ ในตลาดใดตลาดหนึ่ง เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีข้อมูลสนับสนุน เพื่อให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมและเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางก็เช่นกัน การทำการวิจัยตลาดอย่างถูกวิธีจะช่วยให้สามารถเข้าใจสถานการณ์ภายในตลาด ทำให้เข้าถึงและเข้าใจลูกค้าได้เป็นอย่างดีผ่านการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าปัจจุบันหรือกลุ่มที่คาดหวังให้มาเป็นลูกค้าในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงจะไม่ค่อยมี Brand Loyalty กล่าวคือความสนใจและความชอบจะเปลี่ยนไปตามกระแสและเทรนด์ ทำให้แบรนด์หรือสินค้าที่มีการซื้อซํ้าคือสินค้าที่รู้ใจผู้บริโภคในระดับหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้ชายที่มักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่แล้วซํ้า ๆ โดยไม่คำนึงถึงแบรนด์ ดังนั้นกระบวนการเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจปัญหาของผู้บริโภค ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์และทำการตลาดได้อย่างเหมาะสม และนี่คือ 3 เหตุผลที่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ความงามจำเป็นต้องทำการวิจัยตลาด 1. ช่วยธุรกิจในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตรงกับกลุ่มลูกค้ายิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาบ้างแล้ว จะรู้ว่าความเป็นไปได้ที่เราจะออกผลิตภัณฑ์แรก แล้วผู้บริโภคชอบเลย…
ลูกค้าของเราคือผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแบบพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานแบบแช่แข็ง ซึ่งแกงกะหรี่พร้อมทานเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของลูกค้า โดยผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่พร้อมทานมีการวางขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำแต่ยังคงมียอดขายไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นลูกค้าจึงต้องการหาวิธีเพิ่มยอดขายให้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในแบรนด์ของลูกค้า Challenges สิ่งที่ลูกค้าพบคือยอดขายของผลิตภัณฑ์แกงกระหรี่พร้อมทานไม่สูงเท่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงขายไม่ดีทั้งที่มีการวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ลูกค้าจึงต้องการทราบสาเหตุที่ทำให้สินค้าขายไม่ดีอย่างที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงจุดอ่อนและมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่พร้อมทาน ตลอดจนคำแนะนำในการวางกลยุทธ์และวิธีเพิ่มยอดขายที่เหมาะสม สาเหตุที่แกงกะหรี่พร้อมทานขายไม่ดีคืออะไร ทำไมกลุ่มเป้าหมายไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว วิธีเพิ่มยอดขายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นี้ต้องทำอย่างไร ? Process Framework เริ่มจากการมองภาพรวมตลาด โดยศึกษาภาพรวมของอาหารพร้อมทานในตลาดที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน เพื่อให้ทราบขนาดตลาด ความเหมือนและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในตลาด ไปจนถึงการแข่งขันในภาพรวม ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และพนักงานขาย ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่พร้อมทานในภาพรวม เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาเรื่องยอดขาย ทำให้ได้คำแนะนำที่เหมาะสมและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด จากการศึกษาทั้งหมดจะทำให้ทราบถึงสภาวะตลาดและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายของผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่พร้อมทาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงคำแนะนำและวิธีเพิ่มยอดขายที่เหมาะสม Methodology Market and Competitor Research ศึกษาภาพรวมของตลาดผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่พร้อมทาน รวมถึงใช้ Mysterious Shopper สำรวจตลาดตามสาขาของร้านค้าที่มีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายทั้งหมด 20 ร้านค้าทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้ยอดขายไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ Quantitative Research เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการจำนวน 100 ราย และผู้บริโภคจำนวน 100 ราย ผ่านแบบสอบถาม เพื่อศึกษาพฤติกรรมและมุมมองที่มีต่อผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่พร้อมทาน โดยรวมถึงปัญหาที่พบตลอดจนสิ่งที่ต้องการให้ปรับปรุง…