fbpx

Food delivery platform ยอดนิยมในไตรมาสแรกของปี 2565

Food delivery platform ยอดนิยมในไตรมาส 1

ด้วยสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้พฤติกรรมการสั่งอาหารเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเพื่อความสะดวกหรือเหตุผลด้านโรคระบาดทำให้ทุกวันนี้ผู้บริโภคหันมาใช้งานแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มมากขึ้น Crowdabout ได้สำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคในกลุ่ม Gen Z – Gen Y (อายุ 18 – 40 ปี) จำนวน 3,000 คนทั่วประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 (มกราคม – เมษายน) ถึงประเด็นด้านต่าง ๆ ของการใช้งานแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ เช่น ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมใช้ Food Delivery Platform ใดในการสั่งอาหาร เหตุใดจึงใช้แพลตฟอร์มดังกล่าว และมีการใช้งานแพลตฟอร์มบ่อยแค่ไหน จากผลการสำรวจพบว่า Grabfood ยังคงเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในการเลือกใช้งานมากที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปีคิดเป็น 32% ตามมาด้วย Lineman 27% และ Foodpanda 23% ตามลำดับ ซึ่งเหตุผลหลักที่จะทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้ Food Delivery Platform คือมีคูปองหรือโค้ดส่วนลดให้ใช้งานโดยคิดเป็น 39% ตามมาด้วยการมีช่องทางจ่ายเงินให้เลือกหลายรูปแบบคิดเป็น 31.5% และโดยเฉลี่ยใน 1…

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเมล็ดองุ่น (Grape Seed)

grape-seed-skincare

ลูกค้าของเราคือแพทย์ที่มีความต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออร์แกนิก โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ต้องการผลิตออกมาจำหน่ายคือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเมล็ดองุ่นหรือ Grape Seed เป็นส่วนประกอบหลัก เนื่องจากเมล็ดองุ่นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวและปรับสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ Challenges ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการผลิตคือ ออยล์เซรั่ม ที่มีราคาประมาณ 1,500 บาทขึ้นไป เนื่องจากลูกค้าต้องการให้แบรนด์เป็นสินค้าที่อยู่ในระดับพรีเมี่ยมและสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเคาน์เตอร์แบรนด์ที่มีอยู่ในตลาดได้ ลูกค้าต้องการที่จะทราบความเป็นไปได้ทางธุรกิจ รายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนถึงมุมมองของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจริงเมื่อทำการผลิตและจัดจำหน่ายออกไป Process Framework เริ่มต้นจากการศึกษาสภาวะการแข่งขันของตลาด โดยศึกษาคู่แข่งทางการตลาดทั้งทางตรงและทางอ้อมในมุมมองของลูกค้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ส่งมอบคุณค่าเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าของเราต้องการผลิต เช่น มีความออร์แกนิก ราคาใกล้เคียงกัน มีสรรพคุณในการรักษาความชุ่มชื้นของผิว มีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติปรับสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอได้เช่นเดียวกันกับเมล็ดองุ่น เป็นต้น และทำความเข้าใจความแตกต่างรวมถึงข้อดี-ข้อเสียของผลิตภัณฑ์ในแต่ละแบรนด์ ขั้นตอนต่อมาคือ การตั้งสมมติฐานว่าลูกค้ากลุ่มใดที่มีแนวโน้มสนใจซื้อผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มแรก (Target customer) และลูกค้ากลุ่มนั้นมีลักษณะหรือตัวตนของลูกค้า (Persona) เป็นอย่างไร โดยในกรณีศึกษานี้มีการตั้งสมมุติฐานว่าลูกค้าเป้าหมายคือ เพศหญิงในกลุ่ม Gen Y ถึง Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18 – 40 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ขั้นตอนสุดท้ายคือ ศึกษามุมมองของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายผ่านการใช้แบบสอบถามในเรื่องต่าง…

หากลุ่มลูกค้าเป้าหมายสกินแคร์จากน้ำมันกัญชง

สกินแคร์ น้ำมันกัญชง

ลูกค้าของเราเป็นผู้ผลิตสกินแคร์ในประเทศไทย ต้องการที่จะขยายการผลิตไปสู่สกินแคร์ที่มีนํ้ามันกัญชงเป็นส่วนประกอบ กัญชงมีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการอักเสบของผิว นอกจากนี้ยังให้ความชุ่มชื้นกับผิวและอาจช่วยลดการเกิดของสิวได้ ด้วยคุณสมบัติของกัญชงในข้างต้นทำให้ลูกค้าของเรามีความสนใจผลิตสกินแคร์ที่มีน้ำมันกัญชงเป็นส่วนประกอบสำคัญ Challenges ลูกค้าต้องการทราบถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจหากจะเพิ่มสายผลิตในผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีน้ำมันกัญชงเป็นส่วนประกอบ และต้องการทราบลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์นี้ (Target Persona) รวมถึงวิธีสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการทำการตลาดต่อไป Process Framework เริ่มต้นจากการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนของเพศ อายุ รายได้ และจังหวัดที่อยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และศึกษาเพื่อหาผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดผ่านแบบสอบถาม ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่า สนใจสกินแคร์รูปแบบใดรวมถึงความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์แต่ละรูปแบบ เพื่อจะได้ทราบว่าควรเริ่มทำสกินแคร์ที่มีส่วนประกอบสำคัญเป็นน้ำมันกัญชงในรูปแบบใด สุดท้ายคือการหาความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการการสื่อสารในรูปแบบใด ต้องการให้แบรนด์มีภาพลักษณ์แบบใด ตลอดจนราคาที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าเหมาะสม จากการศึกษาทั้งหมดจะทำให้ทราบถึงรูปแบบและการสื่อสารที่เหมาะสมของสกินแคร์ที่มีส่วนประกอบสำคัญเป็น นํ้ามันกัญชง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรูปแบบผลิตภัณฑ์ รูปแบบการสื่อสาร ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ราคาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตลาด เพื่อให้สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุดที่สุด Methodology Quantitative Research เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเพศหญิงและกลุ่ม LGBTQ+ อายุ 18-35 ปีที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อศึกษาทัศนคติและมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อสกินแคร์ที่มีกัญชงเป็นส่วนประกอบหลัก ว่าสนใจผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใดมากที่สุด ราคาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตลาดไปจนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคาดหวังว่าจะได้เห็น นำไปสู่การสื่อสารและการกำหนดทิศทางแบรนด์อย่างเหมาะสมและตรงจุด Results ข้อสรุปของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีน้ำมันกัญชงเป็นส่วนประกอบหลัก ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากที่สุด รวมถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต่อผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท คำแนะนำในการนำเสนอคุณค่าของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจผู้บริโภคและมีความเหมาะสม ราคาที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ในการจัดจำหน่ายออกสู่ตลาด อยากได้คำแนะนำ กลยุทธ์ หรือทีมช่วยวิเคราะห์ปัญหาหาทางแก้ไขเพื่อต่อยอดพัฒนาธุรกิจของคุณ LINE…

อาหารสำหรับผู้สูงอายุและสกินแคร์สำหรับผู้สูงอายุ

อาหารสำหรับผู้สูงอายุ

ในปัจจุบันตลาดสินค้าผู้สูงอายุกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายกลุ่มสินค้า โดย Crowdabout สามารถจำแนกไว้ได้ 3 กลุ่มคือ สินค้ากลุ่มอุปกรณ์ติดตามผู้สูงอายุ สินค้ากลุ่มอาหารสำหรับผู้สูงอายุ และสินค้ากลุ่มสกินแคร์สำหรับผู้สูงอายุ โดยสินค้าในตลาดผู้สูงอายุส่วนมากมักถูกออกแบบและผลิตมาให้ถูกใจกับกลุ่มลูกหลานที่เป็นผู้ดูแลและตัดสินใจซื้อสินค้าต่าง ๆ ในตลาดผู้สูงอายุเป็นหลัก ความกังวลที่รองลงมาจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุของกลุ่มลูกหลานคือ การได้รับสารอาหารต่างๆไม่เพียงพอต่อร่างกายของผู้สูงอายุ ทำให้สินค้าผู้สูงอายุในกลุ่มอาหารสำหรับผู้สูงอายุ และ สกินแคร์สำหรับผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกกลุ่มที่มีความต้องการในตลาดมากไม่แพ้กัน อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ปัญหาหลักในเรื่องการกินของกลุ่มผู้สูงอายุ มีทั้งหมด 3 ปัญหา ได้แก่ 1. ภาวะขาดสารอาหาร ประมาณ 20% – 60% ของผู้สูงอายุมีภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ผลข้างเคียงจากอาการกินข้าวไม่ลงและภาวะกลืนลำบาก ปัญหาทางช่องปากทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้มากเท่าที่ควร หรือภาวะเครียดและซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งภาวะขาดสารอาหารนั้นมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่พักอยู่ที่บ้านพักคนชรา เนื่องจากผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้เลือกอาหารเอง และเมนูอาหารในบ้านพักคนชราไม่ค่อยมีความหลากหลาย นำไปสู่อาการเบื่ออาหารและภาวะขาดสารอาหารในที่สุด ซึ่งผลข้างเคียงของภาวะขาดสารอาหาร ได้แก่ มวลกล้ามเนื้อลดลง โรคกระดูกพรุนซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กระดูกหักหลังจากการหกล้ม ภูมิคุ้มกันบกพร่องนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่ายและแผลหายช้า เป็นต้น 2. ภาวะกลืนลำบาก ประมาณ 10% – 40%…

บ้านพักผู้สูงอายุและธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุ

ธุรกิจ บ้านพักคนชรา

การศึกษาภาพรวมตลาดผู้สูงอายุในไทยและต่างประเทศพบว่า แนวโน้มของตลาดผู้สูงอายุเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้สินค้าและบริการของตลาดผู้สูงอายุประเภทบ้านพักคนชราหรือบ้านพักผู้สูงอายุ (Retirement community) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจหรือลูกค้าของ Crowdabout ให้ความสนใจ จากการศึกษาและวิเคราะห์ตลาดธุรกิจดูแลผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ซึ่งมีพฤติกรรมและความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนจะเริ่มวางแผนกลยุทธ์และการตลาดจะต้องทราบก่อนว่าผู้สูงอายุประเภทที่คุณกำลังต้องการกำหนดให้เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณเป็นผู้สูงอายุในกลุ่มใด เพราะผลิตภัณฑ์หรือบริการในแต่ละกลุ่มต้องทำเพื่อดึงดูดกลุ่มคนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยในเรื่องของวัฒนธรรมและค่านิยมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย 3 กลุ่มของผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. กลุ่มติดสังคม (สามารถดูแลตัวเองได้ดี) ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีสุขภาพทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ที่ดี บางท่านอาจมีโรคเรื้อรังแต่สามารถควบคุมและจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถทำกิจกรรมและช่วยเหลือผู้สูงอายุท่านอื่นได้อีกด้วย ซึ่งผู้สูงอายุในกลุ่มนี้จะเห็นคุณค่าของสินค้าหรือบริการที่ส่งเสริมการเข้าสังคม เช่น การท่องเที่ยว กิจกรรมพบปะ การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ หรือ Social media 2. กลุ่มติดบ้าน (ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง) ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือในบางเรื่อง ส่วนมากอาจมีโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวมาก โดยผู้สูงอายุในกลุ่มนี้จะเห็นคุณค่าของสินค้าหรือบริการที่ช่วยให้สามารถเป็นอิสระในการใช้ชีวิตทำให้ไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้ดูแล เช่น อุปกรณ์ช่วยการเดิน การลุกนั่ง การติดต่อสื่อสาร 3. กลุ่มติดเตียง (ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีเท่าที่ควร) ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย เพราะมีโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อนหลายโรค ดังนั้นผู้สูงอายุในกลุ่มนี้จึงต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาและไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ สินค้าหรือบริการสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มนี้จึงต้องมุ่งเน้นไปที่การลดความกังวลรวมถึงเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ดูแลและผู้สูงอายุด้วย จากการพูดคุยกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวนหลายร้อยคน…

ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มอุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ

ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ

ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตตามการเติบโตของประชากรสูงอายุในสังคมไทย และประชากรของกลุ่ม Sandwich Generation ที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจในตลาดสินค้าผู้สูงอายุโดยหลักแล้วจะเป็นลูกหลานในกลุ่ม Sandwich generation ซึ่งผู้สูงอายุจะมีส่วนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์น้อยกว่าลูกหลาน ดังนั้นการวิเคราะห์ว่าสินค้าใดจะเป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องเริ่มจากการพิจารณาว่าลูกหลานมีความกังวลเกี่ยวกับผู้สูงอายุในเรื่องใดบ้าง การเก็บข้อมูลของ Crowdabout จากการสอบถามลูกหลานที่มีผู้สูงอายุในความดูแล จำนวน 300 คน พบว่า ปัญหาหลักที่ลูกหลานกังวลเกี่ยวกับผู้สูงอายุล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ โดยปัญหาอันดับหนึ่งคือ การหกล้ม ตามมาด้วยเรื่องของอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน และปัญหาเรื่องความเครียดหรืออาการซึมเศร้า ดังนั้น ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุที่จะมีความต้องการในตลาดมาก จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เข้ามาช่วยบรรเทาความกังวลของลูกหลานในเรื่องการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุนั่นเอง ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์ติดตามผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่ได้รับความสนใจและมีความต้องการในตลาด คือ อุปกรณ์ติดตามผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยดูแล เฝ้าระวัง หรือส่งสัญญาณเตือน โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1. อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนสำหรับผู้สูงอายุ (Personal alarm) คืออุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถสวมใส่หรือพกพาได้ง่าย อาจอยู่ในรูปแบบสายรัดข้อมือ นาฬิกาข้อมือ หรือพวงกุญแจ โดยผู้สูงอายุสามารถใช้อุปกรณ์ประเภทนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เช่น ลื่นล้ม หลงทาง หรือต้องการความช่วยเหลืออื่น ๆ แต่ไม่มีใครอยู่ใกล้ ผู้สูงอายุก็สามารถส่งสัญญานเตือนให้ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับรู้หรือส่งข้อความแจ้งเตือนให้กับทีมช่วยเหลือ…