ลูกค้าของเราคือแพทย์ที่มีความต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออร์แกนิก โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ต้องการผลิตออกมาจำหน่ายคือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเมล็ดองุ่นหรือ Grape Seed เป็นส่วนประกอบหลัก เนื่องจากเมล็ดองุ่นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวและปรับสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ Challenges ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการผลิตคือ ออยล์เซรั่ม ที่มีราคาประมาณ 1,500 บาทขึ้นไป เนื่องจากลูกค้าต้องการให้แบรนด์เป็นสินค้าที่อยู่ในระดับพรีเมี่ยมและสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเคาน์เตอร์แบรนด์ที่มีอยู่ในตลาดได้ ลูกค้าต้องการที่จะทราบความเป็นไปได้ทางธุรกิจ รายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนถึงมุมมองของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจริงเมื่อทำการผลิตและจัดจำหน่ายออกไป Process Framework เริ่มต้นจากการศึกษาสภาวะการแข่งขันของตลาด โดยศึกษาคู่แข่งทางการตลาดทั้งทางตรงและทางอ้อมในมุมมองของลูกค้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ส่งมอบคุณค่าเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าของเราต้องการผลิต เช่น มีความออร์แกนิก ราคาใกล้เคียงกัน มีสรรพคุณในการรักษาความชุ่มชื้นของผิว มีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติปรับสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอได้เช่นเดียวกันกับเมล็ดองุ่น เป็นต้น และทำความเข้าใจความแตกต่างรวมถึงข้อดี-ข้อเสียของผลิตภัณฑ์ในแต่ละแบรนด์ ขั้นตอนต่อมาคือ การตั้งสมมติฐานว่าลูกค้ากลุ่มใดที่มีแนวโน้มสนใจซื้อผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มแรก (Target customer) และลูกค้ากลุ่มนั้นมีลักษณะหรือตัวตนของลูกค้า (Persona) เป็นอย่างไร โดยในกรณีศึกษานี้มีการตั้งสมมุติฐานว่าลูกค้าเป้าหมายคือ เพศหญิงในกลุ่ม Gen Y ถึง Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18 – 40 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ขั้นตอนสุดท้ายคือ ศึกษามุมมองของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายผ่านการใช้แบบสอบถามในเรื่องต่าง…
Category Archives: Health & Beauty Product
ลูกค้าของเราเป็นผู้ผลิตสกินแคร์ในประเทศไทย ต้องการที่จะขยายการผลิตไปสู่สกินแคร์ที่มีนํ้ามันกัญชงเป็นส่วนประกอบ กัญชงมีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือต่อต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการอักเสบของผิว นอกจากนี้ยังให้ความชุ่มชื้นกับผิวและอาจช่วยลดการเกิดของสิวได้ ด้วยคุณสมบัติของกัญชงในข้างต้นทำให้ลูกค้าของเรามีความสนใจผลิตสกินแคร์ที่มีน้ำมันกัญชงเป็นส่วนประกอบสำคัญ Challenges ลูกค้าต้องการทราบถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจหากจะเพิ่มสายผลิตในผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีน้ำมันกัญชงเป็นส่วนประกอบ และต้องการทราบลักษณะของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์นี้ (Target Persona) รวมถึงวิธีสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปใช้ในการทำการตลาดต่อไป Process Framework เริ่มต้นจากการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนของเพศ อายุ รายได้ และจังหวัดที่อยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และศึกษาเพื่อหาผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดผ่านแบบสอบถาม ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่า สนใจสกินแคร์รูปแบบใดรวมถึงความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์แต่ละรูปแบบ เพื่อจะได้ทราบว่าควรเริ่มทำสกินแคร์ที่มีส่วนประกอบสำคัญเป็นน้ำมันกัญชงในรูปแบบใด สุดท้ายคือการหาความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการการสื่อสารในรูปแบบใด ต้องการให้แบรนด์มีภาพลักษณ์แบบใด ตลอดจนราคาที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าเหมาะสม จากการศึกษาทั้งหมดจะทำให้ทราบถึงรูปแบบและการสื่อสารที่เหมาะสมของสกินแคร์ที่มีส่วนประกอบสำคัญเป็น นํ้ามันกัญชง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรูปแบบผลิตภัณฑ์ รูปแบบการสื่อสาร ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ราคาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตลาด เพื่อให้สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุดที่สุด Methodology Quantitative Research เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเพศหญิงและกลุ่ม LGBTQ+ อายุ 18-35 ปีที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อศึกษาทัศนคติและมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อสกินแคร์ที่มีกัญชงเป็นส่วนประกอบหลัก ว่าสนใจผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใดมากที่สุด ราคาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตลาดไปจนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคาดหวังว่าจะได้เห็น นำไปสู่การสื่อสารและการกำหนดทิศทางแบรนด์อย่างเหมาะสมและตรงจุด Results ข้อสรุปของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์สกินแคร์ที่มีน้ำมันกัญชงเป็นส่วนประกอบหลัก ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากที่สุด รวมถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต่อผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท คำแนะนำในการนำเสนอคุณค่าของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจผู้บริโภคและมีความเหมาะสม ราคาที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ในการจัดจำหน่ายออกสู่ตลาด อยากได้คำแนะนำ กลยุทธ์ หรือทีมช่วยวิเคราะห์ปัญหาหาทางแก้ไขเพื่อต่อยอดพัฒนาธุรกิจของคุณ LINE…
ลูกค้าของเราคือบริษัทสกินแคร์ระดับประเทศที่มียอดขายหลายร้อยล้านบาทต่อปี โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมากระแสครีมซองเป็นที่นิยมและมีความต้องการซื้อจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลูกค้าของเราเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดและได้มีการผลิตครีมซองเป็นสินค้าออกมาวางจำหน่ายในท้องตลาด Challenges สิ่งที่ลูกค้าของเราพบคือ ยอดขายของครีมซองจะสูงในช่วงออกผลิตภัณฑ์ระยะแรกและค่อย ๆ ลดลง เป็นวัฎจักรเช่นนี้เสมอเมื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด ทำให้ลูกค้าถูกสถานการณ์ดังกล่าวบีบบังคับให้ออกครีมซองใหม่ ๆ สู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อพยุงยอดขายในกลุ่มสินค้าครีมซอง การออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องทำให้มีต้นทุนทั้งในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สูง ส่งผลให้ลูกค้าของเราเกิดคำถามและต้องการคำแนะนำว่า แบรนด์ควรจะผลิตครีมซองออกสู่ตลาดอีกหรือไม่ ถ้าหากผลิตต่อจะมีแนวทางที่ทำให้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลงและมียอดขายที่สูงขึ้นได้อย่างไร ? Process Framework เริ่มต้นจากการมองภาพตลาดจากใหญ่ไปเล็ก โดยศึกษาตลาดครีมซองในประเทศไทยและผลิตภัณฑ์ที่มีในตลาดทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงขนาดตลาดไปจนถึงสภาพการแข่งขันในภาพรวม จากนั้นศึกษาลงลึกในรายละเอียดของครีมซองที่ขายดีอันดับต้น ๆ ว่าขายดีมานานเท่าไร มีจุดขายอย่างไร และมีความแตกต่างอย่างไรกับครีมซองอื่น ๆ ในตลาด ขั้นตอนต่อมาคือ การเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับครีมซองในภาพรวม ครีมซองที่ขายดี และครีมซองของบริษัทลูกค้าเรา รวมถึงความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อครีมซองที่จะลองซื้อมาใช้และใช้อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาทั้งหมดจะทำให้ทราบถึงสภาวะตลาด แนวโน้มการเติบโตของตลาด ปัจจัยที่ทำให้ครีมซองประสบความสำเร็จ และจุดแข็ง-จุดอ่อนของครีมซองลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นในลำดับต่อไป Methodology Market and Competitor Research รวบรวมข้อมูลครีมซองที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อชั้นนำ โดยเป็นครีมซองที่มียอดขายหรือได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มเพศหญิง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวบรวมข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การทำการตลาดของครีมซองแต่ละแบรนด์ Quantitative and Qualitative Survey เก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจำนวน…