fbpx

สร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ด้วยสีของแบรนด์ และรูปแบบบรรจุภัณฑ์

การสร้างแบรนด์

ในการสร้างแบรนด์สินค้านั้นบุคลิกภาพของแบรนด์หรือ Brand Personality มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีงานศึกษาพบว่าบุคลิกภาพของแบรนด์มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค นอกจากนี้บุคลิกภาพของแบรนด์ยังส่งผลต่อความภักดีในตัวสินค้าอีกด้วย สีของแบรนด์เป็นหนึ่งในสิ่งที่หลายแบรนด์ใช้ในการระบุตัวตนหรือบุคลิกภาพของแบรนด์ เพราะสีมีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะสามารถจดจำและรับรู้ถึงตัวตนของแบรนด์ผ่านการดูจากสีของโลโก้แบรนด์ ดังนั้นการเลือกใช้สีให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสินค้าหรือบริการที่แบรนด์ต้องการจะนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกเหนือจากสีของแบรนด์แล้วรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ก็มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์และการระบุบุคลิกภาพของแบรนด์เช่นเดียวกัน เพราะผู้บริโภคที่ไม่เคยรู้จักผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เรามาก่อนมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากบรรจุภัณฑ์ ถ้าหากบรรจุภัณฑ์มีความน่าดึงดูดและแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นในตลาด เลือกสีแบรนด์ให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของแบรนด์ การเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของแบรนด์เป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถสื่อสารตัวตนของแบรนด์ให้กับลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยบุคลิกภาพของแบรนด์จะมีทั้งหมด 5 ลักษณะ ได้แก่ 1. Sincerity ความจริงใจ เป็นบุคลิกภาพที่สื่อถึงความตรงไปตรงมา พูดความจริงเสมอ มีความจริงใจ และเป็นมิตร 2. Excitement ความน่าตื่นเต้น เป็นบุคลิกภาพที่สื่อถึงความสนุกสนาน ตื่นเต้น ทันสมัย และขี้เล่น 3. Competence ความเชี่ยวชาญ เป็นบุคลิกภาพที่สื่อถึงความน่าเชื่อถือ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี และสื่อถึงความมีประสบการณ์อีกด้วย 4. Sophistication ความดูดี มีระดับ เป็นบุคลิกภาพที่สื่อถึงความหรูหรา มีระดับ และความมีระดับ 5. Roughness ความดิบ หรือเข้มแข็ง เป็นบุคลิกภาพที่สื่อถึงความทนทาน แข็งแรง และการเผชิญกับสิ่งใหม่…

CrowdAbout คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากงาน DIPROM STARTUP CONNECT 2024

ในวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา CrowdAbout นำโดย คุณพิชาพา สุควาณิชช์ CEO ของเรา ได้เข้าร่วมการ Pitching ในงาน DIPROM STARTUP CONNECT 2024 ที่ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เราภูมิใจนำเสนอ Crowdabout Customer Insight ระบบที่ไม่เพียงแค่เชื่อมโยงข้อมูลผู้บริโภคทั่วประเทศ แต่ยังใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง และปราศจากอคติ เทคโนโลยีของ CrowdAbout มุ่งเน้นในการช่วยธุรกิจไทยวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการขยายตลาด ระบบของเรายังช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและรวดเร็วในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ความสำเร็จของเราในงานนี้ไม่เพียงแค่เป็นการพิสูจน์ศักยภาพของ CrowdAbout เท่านั้น แต่ยังเป็นการยืนยันว่าเทคโนโลยีที่เราพัฒนาขึ้นสามารถช่วยยกระดับธุรกิจไทยให้แข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ในระดับประเทศและระดับสากล 🚀 ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน CrowdAbout เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจไทยต่อไป

Crowdabout X MFEC Inspire Day : เพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนเพื่อขับเคลื่อนความคล่องตัวทางธุรกิจ

จบกันไปแล้วสำหรับงาน MFEC Inspire – Transforming IT Challenges into Future Competitive Advantage ซึ่งภายในงานได้มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น สัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้กับเหล่าบริษัทพาร์ทเนอร์ บูธจากบริษัทในเครือ MFEC และคลินิกให้คำปรึกษาด้านไอทีที่จะนำเสนอโซลูชั่นต่าง ๆ ให้กับองค์กรทีได้รับเชิญ Crowdabout เป็น 1 ในบูธด้าน Cost Optimization โดยบริษัทของเราในฐานะบริษัทให้คำปรึกษาด้านธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้งานจริงในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนโซลูชั่นกับผู้ร่วมงาน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความเข้าใจและมองเห็นถึงประสิทธิภาพของการนำข้อมูลเชิงลึกมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจมากขึ้น โดยที่ผ่านมา Crowdabout ได้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ อาทิเช่น SCG, Kbank, โรงพยาบาลสมิติเวช และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้มีการช่วยนำเสนอกลยุทธ์และแผนการทำงานตามโจทย์ที่ลูกค้ามอบหมาย ผ่านการใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากกลุ่มเป้าหมายกว่า 200,000 คนในระบบ Panelist ของ Crowdabout มาวิเคราะห์และสนับสนุนกลยุทธ์ต่าง ๆ  เราขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ Crowdabout และได้เข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุมกับทีมงานของเราตลอดทั้งวัน โดยเราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาและเข้าไปมีส่วนช่วยให้ธุรกิจของท่านสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่บริษัทตั้งไว้ได้ Crowdabout…

Form data to love connections : เบื้องหลัง Dating Personality Test by Crowdster แบบทดสอบที่มีคนเข้าเล่นกว่า 6 แสนครั้งใน 2 สัปดาห์

จากความสำเร็จของ dating personality test by crowdster ที่ได้รับความนิยมและเป็นกระแสในช่วงเดือนที่ผ่านมา เราจึงจะพาทุกท่านไปเจาะลึกกับเบื้องหลังการทำงานของ dating personality test ที่มีผู้เข้าเล่นกว่า 600,000 ครั้งในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ โดยในบทความนี้เราจะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างแบบทดสอบ ขั้นตอนการทำงาน ไปจนถึงปัญหาและอุปสรรคที่ทีมต้องเผชิญในระหว่างการจัดทำแคมเปญนี้ Get to know about crowdster : ทำความรู้จักกับ Crowdster ให้มากขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านในที่นี้ยังคงสงสัยว่า Crowdster คืออะไรและมีความเกี่ยวข้องกับ Crowdabout อย่างไรบ้าง ดังนั้นเราจึงอยากอธิบายถึงธุรกิจทั้งสองสักเล็กน้อยเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจและสามารถอ่านเรื่องราวได้อย่างสนุกมากขึ้น  Crowdabout เป็นธุรกิจให้บริการที่ปรึกษาและวิจัยตลาด (Business Consulting and Market Research) ซึ่งใช้การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven) มาใช้ในการให้คำปรึกษากับลูกค้า โดย Crowdabout ให้บริการลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเน้นไปที่การให้บริการลูกค้าในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Healthcare) และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer Products) เป็นหลัก และจากการที่ Crowdabout…

ส่องพฤติกรรมนักอ่านในยุคดิจิทัล

อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแรกๆ ที่ถูก disrupt โดยเทคโนโลยี ในช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาพบว่ารายได้ของธุรกิจสื่อและโฆษณาลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี ทำให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมากต้องปิดตัวลง นอกจากนี้การเข้ามาของ Digital Platform และสื่อออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ ทำให้ผู้บริโภคหันไปเสพสื่อในช่องทางเหล่านั้นมากขึ้นเพราะมีความสะดวก รวดเร็ว มากกว่าการเสพสื่อในรูปแบบเดิม  ถึงแม้จะมีหลายบริษัทที่ได้ปิดตัวลงแต่ยังมีบริษัทสื่อและสำนักพิมพ์จำนวนมากที่ปรับตัวผ่านช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้ ด้วยแนวทางการปรับตัวหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น MEB แพลตฟอร์มที่ผันตัวจากสำนักพิมพ์ขนาดเล็กสู่ผู้ให้บริการ E-Book จนกลายเป็นบริษัทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ได้ Mint Magazine ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบคอนเทนต์ด้วยกลยุทธ์ Fanbased Economy โดยนำศิลปินหรือผู้มีชื่อเสียงมาขึ้นปกนิตยสารเพื่อดึงดูดกลุ่มแฟนคลับของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตนิตยสารชั้นนำอย่างแพรว บ้านและสวน ชีวจิต ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนคอนเทนต์นำคอนเทนต์ทั่วไปมาลงในช่องทาง Social Media มากขึ้น และนำคอนเทนต์ที่ลงรายละเอียดเชิงลึกตีพิมพ์ในนิตยสารเพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านยังคงซื้อนิตยสารอยู่  นอกเหนือจาก Digital disruption แล้ว ยังมีเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นการอ่านที่เพิ่มขึ้นจากช่องทาง Digital เช่น…

ความสนใจของคนในช่วงเทศกาลสงกรานต์

สงกรานต์เป็นหนึ่งเทศกาลหยุดยาวที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด – 19 วันสงกรานต์เป็นเทศกาลที่ครึกครื้น ผู้คนมักเดินทางกลับบ้าน ไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือสังสรรค์ในเมืองตามพื้นที่ยอดฮิตต่าง ๆ สงกรานต์จึงมักเป็นช่วงเวลาทองของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศไทย โควิด – 19 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยห่างหายจากเทศกาลสงกรานต์มาพักใหญ่ ทำให้สงกรานต์ในปี 2566 นี้เป็นเทศกาลที่ทั้งคนไทย และต่างชาติรอคอยมาหลายปี และธุรกิจต่างคาดหวังว่าช่วงเวลาทองของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจะกลับมาอีกครั้ง  สงกรานต์ยังเป็นเทศกาลโปรดของคนไทยอยู่ จากการเก็บข้อมูลผ่าน Crowdabout Online Panel จากคน 1,000 คน พบว่า คนส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกต่อเทศกาลสงกรานต์ค่อนไปทางบวก โดยมีคนเพียง 5% เท่านั้นที่ไม่ชอบและไม่อยากมีส่วนร่วมในเทศกาลนี้ แต่ดูเหมือนว่าคนจะชอบเทศกาลนี้เพียงเพราะเป็นช่วงที่จะได้หยุดยาว แต่ไม่ได้สนใจในกิจกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์เท่าใดนัก โดย 3 อันดับกิจกรรมยอดฮิตในสงกรานต์ปีนี้คือ การพักผ่อนอยู่ที่บ้าน จากการสำรวจพบว่ามีคนที่ไม่มีแพลนออกไปไหนมากถึง 57% ตามด้วยการไปทำบุญที่วัด 35% และไปเที่ยวต่างจังหวัด 33% โดยมีเพียง 25% เท่านั้นที่มีแพลนจะออกไปเล่นน้ำตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดย 2 สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนไม่ออกจากบ้านในช่วงสงกรานต์ที่จะถึงนี้คือ อากาศร้อนเกินไป และคนเยอะ…

ถอดรหัส “ความสุข” จากคนไทย 900 คน

Crowdabout เก็บข้อมูลเรื่องความสุขของคนไทยผ่าน Crowdabout consumer Panel จากคนไทยจำนวน 900 คน แบ่งตามเพศ สถานะ และอายุเป็น 3 ช่วงคือ 21-30,31-40,41-50 ปี ในจำนวนที่เท่ากัน เพื่อศึกษาถึงสภาพจิตใจ มุมมองและนิยามต่อความสุขของคนในช่วงอายุ เพศ และสถานะที่แตกต่างกัน ความโสดมีผลกับระดับความสุขไหม? หากแบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม ตามเพศ และสถานะ ผู้ชายโสดคือกลุ่มที่ไม่มีความสุขมากที่สุด  และผู้ชายมีคู่คือกลุ่มที่มีความสุขมากที่สุด ส่วนในกลุ่มผู้หญิง สถานะไม่มีผลต่อความสุขมากนัก คล้ายกับเรื่องความเหงาที่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ชายโสดเหงามากที่สุด ถามใจคนไทย 900 คน เรื่องความเหงา นอกจากนี้ยังพบว่าชายโสดกลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุด คือกลุ่มอายุ 31-40 ปี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่เพื่อนฝูงเริ่มแยกย้ายไปมีเวลากับครอบครัว แต่เมื่อผ่านช่วงอายุนี้ไปแล้ว ชายโสดจะมีแนวโน้มมีความสุขมากขึ้น ข้อมูลหนึ่งที่เราพบ และเห็นว่าที่น่าสนใจ คือ ข้อมูลความสุขในกลุ่มคนมีคู่ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่ออายุมากขึ้น ผู้หญิงจะเริ่มไม่มีความสุขในชีวิตคู่ และเริ่มคิดถึงความโสด ในขณะที่ผู้ชายมีคู่ มีความสุขมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สอดคล้องกับเรื่องความเหงา ที่เห็นว่าผู้หญิงมีคู่จะเหงามากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น…