fbpx

Monthly Archives: May 2021

3 แนวทาง วิจัยตลาดในช่วงโควิด เราจะพิชิตเป้าหมายอย่างไร?

วิจัยตลาดในช่วงโควิด

ทำไมต้อง วิจัยตลาดในช่วงโควิด ? ผ่านมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ ทั้งระดับ SMEs ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ระดับมหาชน แต่ถึงแม้การดำเนินงานทั้งหมดในช่วงปีที่ผ่านมานี้ จะมีความยากลำบากมากขึ้นสำหรับบางอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ภารกิจของทุกธุรกิจก็จำเป็นต้องเดินต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการตลาดในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น มีข้อจำกัดมากมายทั้งในเรื่องของข้อบังคับต่าง ๆ ที่ออกมาจากทางภาครัฐ ทุกธุรกิจจำเป็นจะต้องมีการปรับแผนการตลาด และการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงแทบจะรายวัน การวิจัยตลาดก็ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการการตลาดของธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่เพียงในช่วงเริ่มต้นธุรกิจเท่านั้น แต่ระหว่างการดำเนินการธุรกิจแล้วต้องเจอกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง มีความผันผวนสูง และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสภาพตลาดในอุตสาหกรรมนั้น ๆ อย่างเช่นในช่วงโควิดที่ผ่านมาและยังไม่สิ้นสุดในเร็ววันนี้ การวิจัยตลาดยังจะสามารถนำขึ้นมาเป็นกระบวนการที่สำคัญของธุรกิจ ที่จะช่วยให้ธุรกิจได้กลับมาทบทวนแนวทางในการดำเนินงาน สินค้าบริการ กลยุทธ์การตลาด และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อยในช่วงสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนี้ 3 แนวทาง วิจัยตลาดในช่วงโควิด การดำเนินการวิจัยตลาดในช่วงโควิดนั้นย่อมมีข้อจำกัดมากมายที่ไม่สามารถทำได้เหมือนในช่วงสถานการณ์ปกติ ดังนั้นเพื่อให้การวิจัยตลาดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ จึงควรมีแนวทางในการวิจัยตลาดที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและกระชับมากขึ้นดังนี้ 1. ใช้แบบสำรวจออนไลน์เพียงอย่างเดียว ในช่วงที่มีการกึ่งล็อกดาวน์ของบางจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดสูง และองค์กรส่วนใหญ่มีนโยบายให้พนักงาน Work from Home หรือทำงานอยู่ที่บ้านแทนการเดินทางเข้าออฟฟิศ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนส่วนมากใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้นด้วย การใช้แบบสำรวจออนไลน์ จึงเป็นวิธีการสำรวจกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวิจัยตลาด ให้ธุรกิจที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด และเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้ออย่างเข้มงวด การสำรวจตลาดทางออฟไลน์ต่าง…

Market Research in Food Industry การวิจัยตลาดในธุรกิจอาหาร

Food Industry

Food Industry หรือ ธุรกิจอาหาร คืออีกหนึ่งธุรกิจที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศไทย ทั้งประเภทผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และธุรกิจบริการอาหารอย่างภัตตาคาร แม้ปัจจุบันผู้ประกอบการในภาคธุรกิจอาหารยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างถ้วนหน้า แต่ก็ยังมีโอกาสและแนวโน้มในอนาคตที่สดใส ด้วยการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่กำลังจะตามมา อย่างไรก็ตามการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ยังจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในสภาวะที่ยังรอการฟื้นตัวและการแข่งขันที่สูง โดยส่วนใหญ่ธุรกิจอาหารจะมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าและบริการที่ทำให้เกิดการแข่งขันได้ดังนี้ จะเห็นได้ว่าข้อสุดท้ายนั้นถือเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญที่สุดของแต่ละธุรกิจอาหาร บางรายอาจถือเป็นไม้ตายสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้เป็นที่นิยมในหมู่ลูกค้าได้ แม้ว่าข้ออื่น ๆ อาจเสียเปรียบคู่แข่ง หรือสร้างความแตกต่างได้ยากกว่า Food Industry ต้องการการวิจัยตลาดหรือไม่ ? การวิจัยตลาดเพื่อธุรกิจ จะเข้ามามีบทบทอย่างมากในเรื่องการหา Customer Insight เพื่อออกแบบสินค้าหรือบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างละเอียด และมีความแตกต่าง ตัวอย่างเช่น ร้านเผ็ดมาร์ค ที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่ชอบทานของเผ็ด ร้าน Too Fast Too Sleep ที่เปิดขายกาแฟ 24 ชั่วโมงเป็นรายแรก ๆ ของไทย เพื่อตอบสนองกลุ่มนักศึกษาที่อ่านหนังสือสอบจนดึก หรือผลิตภัณฑ์ Yofu ฟองเต้าหู้ทอดกรอบใส่ซอง ที่ตอบสนองคนชอบทาน Snack หรือขนมขบเคี้ยวแต่กลัวอ้วน เป็นต้น นอกจากนี้การตลาดสำหรับธุรกิจอาหาร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหารหรือ ธุรกิจอาหารแปรรูป…

พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งที่เจ้าของธุรกิจยุคนี้ต้องเข้าใจ

Customer Insight

พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจเนื่องจากหลายครั้งที่ธุรกิจมักเริ่มทำโดยใช้ไอเดียจากเจ้าของเพียงคนเดียว และไม่ได้สนใจว่าลูกค้าชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคหรือ Customer Insight เพื่อให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ รวมถึงข้อความทางการตลาด (marketing message) ที่สร้างแรงดึงดูดได้ดี และตรงกลุ่มที่สุด เราจะหา พฤติกรรมผู้บริโภค ได้อย่างไร ? การหา Customer insight มีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่ Research ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การตั้งคำถามสิ่งที่ต้องการรู้จากกลุ่มเป้าหมาย แล้วจากนั้นจึงจะนำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์การตลาด Observe คือการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของกลุ่มเป้าหมาย โดยข้อควรระวังของวิธีการนี้คือความคลาดเคลื่อนของพฤติกรรม กรณีที่ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวและทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ความแม่นยำและความน่าเชื่อถือลดลง Analyse คือการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ทั้งหมดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ให้เกิดแก่นความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยอ้อม หรือไม่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าเลย ซึ่งผู้วิเคราะห์ต้องหาจุดที่เชื่อมโยงกลับมาหาตัวแบรนด์สินค้าให้ได้ วิธีการหา Insight สามารถทำได้จากหลายแหล่ง ทั้งจาก Data ที่มีอยู่แล้วภายในองค์กรเอง การวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าทาง Social Media หรือแหล่งที่น่าสนใจที่มักถูกมองข้ามไปก็คือ Employee…

เจาะ Insight กลุ่มลูกค้าธุรกิจความงาม

อีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพาการวิจัยตลาดในการสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าโดยตรงก็คือ ธุรกิจความงาม ซึ่งก็แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบทั้งผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เครื่องสำอางค์ สกินแคร์ และสถานบริการความงามต่างๆ บทความนี้จะมาพูดถึงตัวอย่าง Insight กลุ่มลูกค้าธุรกิจความงาม ที่ได้มาจากการหาข้อมูลวิจัยตลาดในรูปแบบต่าง ๆ และเทรนด์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าธุรกิจความงาม Beauty Community ใน Twitter Twitter พบว่าคนไทยกว่า 72% ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ความงามใหม่ ๆ โดย 74% ของผู้ที่สนใจเรื่องเครื่องสำอางจะหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ และ มากกว่า 50% อยากจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ซื้อและได้ลองใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น Beauty Community ของประเทศไทยบน Twitter ถือเป็นชุมชนที่มี Passion และมี Engagement สูงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการ Tweet ถึงเทรนด์ใหม่ล่าสุด ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการแบ่งปันความคิดเห็นต่อแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติ ในปีที่ผ่านมามีบทสนทนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Personal care บนทวิตเตอร์ประเทศไทยมากถึง 60 ล้าน Tweet โดยผู้ที่มีความสนใจในเรื่องความงามจะมีการใช้แฮชแท็กต่าง ๆ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในการทวีตข้อความ…