เลือก Brand Archetype ให้เหมาะกับ Brand Personality การนำ Brand Archetype หรือต้นแบบมาใช้สร้าง Personality ก็คือ การนำเจตจำนง ความปรารถนาในใจลึกๆของมนุษย์ ขึ้นมากำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์ ซึ่งทุกคนมีเจตจำนง ความปรารถนาในใจแตกต่างกันแบ่งเป็น 12 กลุ่ม ตามทฤษฎีของ Carl Jung วิธีเลือก Archetype ให้ง่ายที่สุดก็คือลองจินตนาการว่า ถ้าแบรนด์เป็นคน มีชีวิต จะอยากเห็นเขาเป็นอย่างไร ใส่เสื้อผ้าแบบไหน วิธีพูดอย่างไร อยากพรีเซ็นท์ส่วนไหนในตัวคนนี้หรืออยากให้เพื่อน ๆ รู้จักคนคนนี้ในมุมมองไหน โดยมีวิธีคิด 2 ข้อหลัก ๆ 1. เขียนเป็น Keywords เขียนคำที่แสดงความรู้สึกหรือพฤติกรรม โดยแบ่งคำออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ก่อน คือ สิ่งที่แบรนด์จะเป็น กับ สิ่งที่แบรนด์จะไม่เป็น พอเขียนครบ จนคิดไม่ออก ก็จัดกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกัน แล้วเทียบดูว่าทั้งหมดที่เขียนเข้าล็อคกับ archetype…
Monthly Archives: June 2021
เริ่มต้นธุรกิจ ใด ๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน แต่เพราะไม่ใช่เรื่องยากนี่เอง จึงทำให้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะอยู่รอดได้ในสภาวะสังคมและเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูง และยิ่งช่วงที่โควิดยังไม่จบ แล้วประเทศไทยเราก็จะต้องพยายามเปิดให้กลับมาเป็นปกติให้ได้ ล้วนมีแต่ความสุ่มเสี่ยงในทุกการก้าวเดินตัดสินใจ ไม่มีอะไรที่จะมาคอยเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจของเราเองได้นอกจากตัวเราเอง วันนี้ Crowdabout ได้นำสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการมือใหม่มาฝากกันค่ะ 1. เริ่มต้นธุรกิจ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักจะมุ่งเน้นไปที่วิธีการและปัจจุบันมากกว่าการมองไปยังอนาคต ทว่าในความเป็นจริงนั้นเนื่องด้วยสภาพของสังคม เศรษฐกิจ และองค์ประกอบปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมองธุรกิจแบบระยะยาวและมีการคาดการณ์ถึงแผนในอนาคตอยู่เสมอ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงธุรกิจหรือผู้ประกอบการอื่นเพื่อให้สามารถวางแผนได้อย่างรัดกุมยิ่งขึ้น 2. การตรวจสอบตลาด ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจจะต้องสำรวจตลาดก่อนว่าเป็นอย่างไร มีสินค้าและบริการแบบไหนเกิดขึ้นแล้วบ้าง กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการในสินค้าและบริการแบบใดบ้าง สินค้าหรือบริการของเราเหมาะสมหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้ากลุ่มใดบ้าง รวมทั้งการเรียนรู้วิธีการขาย มีการคำนวณต้นทุนให้ละเอียดเพื่อตั้งราคาขายให้ได้กำไรอย่างที่ควรจะเป็น 3. ต้องมีการเตรียมใจ หลายคนอาจเคยได้ยินสำนวนที่ว่า “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” การทำอะไรสักอย่างก็สามารถเกิดความผิดพลาดได้เป็นธรรมดา โดยอาจเป็นเพียงการผิดพลาดเล็กน้อยหรืออาจถึงขั้นทำให้ขาดทุนจนแทบล้มละลาย แม้บางคนอาจเดินตามรอยที่เป็นสูตรสำเร็จของธุรกิจอื่น แต่ก็ไม่มีอะไรรับรองได้ว่าทุกธุรกิจจะสำเร็จตามเส้นทางนั้นได้ ถึงกระนั้นแทบทุกคนที่ประสบความสำเร็จมักจะมีคำพูดในทำนองเดียวกันว่า “ความผิดพลาดนั้นจะทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เสมอ” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเตรียมใจและเตรียมรับมือกับความล้มเหลวอย่างรัดกุม มีแผนการรองรับ และมีการวิเคราะห์ความล้มเหลวนั้นเป็นอย่างดีและถี่ถ้วน 4….
Ecosystem คือการพึ่งพากันและกัน ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ มนุษย์ หรือแม้แต่ทุกการทำธุรกิจ ต้องมีการสนับสนุนเเละพึ่งพากันไม่ว่าจะเป็นสภาพเเวดล้อมหรือปัจจัยต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น สังเกตไหมว่า ทำไมบางบริษัทถึงเติบโตมากกว่าบริษัทอื่นทั้งที่ทำธุรกิจคล้ายกัน นั่นก็เป็นหนึ่งในผลจากการเอื้อกันทางธุรกิจ วันนี้เราลองมาดูความสำคัญของสิ่งนี้กันค่ะ ระบบนิเวศทางธุรกิจ หรือ Business Ecosystem คือ การทำธุรกิจที่มีการรวมตัวกันของ หน่วยงาน บุคคลากร หรือองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ทั้งภาครัฐเเละเอกชน จนกลายเป็นระบบที่ส่งเสริมกัน ซึ่งสิ่งที่น่าแปลกก็คือ ระบบนิเวศไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทที่สนับสนุนกันเสมอไป เเต่ยังมีบริษัทที่เป็นคู่เเข่งกันอยู่ในระบบนิเวศนี้ด้วย ซึ่งเป็นข้อดีตรงที่ทำให้เเต่ละบริษัทผลักดันตัวเองให้พัฒนาจนสามารถเติบโตได้เช่นกัน คำว่าระบบนิเวศทางธุรกิจ ว่าคำนี้เกิดขึ้นมาในช่วงต้น ๆ ของปี 1990 โดย James F. Moore สภาคณบดีของ Harvard School of Public Health และสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศของ Harvard AIDS Institute และ Harvard AIDS Initiative บอกเอาไว้ว่าธุรกิจและนวัตกรรมไม่สามารถที่จะเติบโตหรือพัฒนาด้วยตัวเองได้ แต่ละธุรกิจจำเป็นจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางธุรกิจ ที่ทำงานประสานกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ ๆ…
ธุรกิจ โควิด 19 อาจไม่ใช่สิ่งที่อยู่คู่กันแล้วทุกธุรกิจจะรอด เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่เเล้วว่าการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบแทบทุกด้านของภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือธุรกิจเล็ก ๆ อย่าง SME ก็โดนผลกระทบไม่เเพ้กัน ในขณะที่หลายธุรกิจกำลังประสบปัญหากับสถานการณ์เช่นนี้ ยังมีอีกหลากหลายธุรกิจที่เติบโตจากสถานการณ์โควิด-19 เเละบางธุรกิจได้มีการปรับตัวเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ ที่ตรงกับเป้าหมายของผู้บริโภค เพื่อให้บริษัทอยู่รอดในสถานการณ์แบบนี้เช่นกัน ในเมื่อมีการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ (New normal) เเน่นนอนว่ามีการทำธุรกิจวิธีใหม่ ๆ เช่นกัน วันนี้ Crowdabout จะพามาส่องธุรกิจประเภทที่เติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา จะมีธุรกิจประเภทไหนบ้างไปดูกัน ธุรกิจ โควิด 19 ที่ไปได้ดี 1. ธุรกิจรับส่งอาหาร หรือ Food Delivery เริ่มกันด้วยธุรกิจที่มีความจำเป็นกับชีวิตมนุษย์อย่างธุรกิจอาหาร เห็นชัดกันอยู่เเล้วว่า การประกาศ lock down ภายในประเทศช่วงแรกนั้น ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารแบบที่ทั้งนั่งทานในร้านและซื้อกลับถูกปิด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงต้องทั้งอดทนและดิ้นรน ปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ต่อมาเมื่อมีการคลายล็อคดาวน์ลง แทบจะทุกร้านอาหารที่มีแต่บริการนั่งทานในร้าน ก็ปรับมาทำร้านอาหารแบบ delivery ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ work from home มีโอกาสที่จะใช้บริการ Food Delivery…