การสำรวจตลาด (Market Survey) คือการวิจัยเชิงสำรวจและการวิเคราะห์ตลาดสำหรับสินค้าและบริการ รวมถึงการวิเคราะห์ผู้บริโภค เช่น การสำรวจคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน และการสำรวจความนิยมของผู้บริโภค การรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การทำแบบสำรวจ การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง หรือการสังเกตผู้บริโภคจากสถานการณ์จริง การทำแบบสำรวจผ่านทางช่องทางออนไลน์ (Online Survey) เป็นวิธีเก็บข้อมูลหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดยเครื่องมือสำหรับการทำ Online Survey ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลาย มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ผู้วิจัยจึงต้องรู้จักและเลือกใช้ให้เหมาะสม วันนี้ Crowdabout นำตัวอย่าง 4 ระบบในการทำ Survey ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันมาให้รู้จัก Google Forms ถือเป็นเครื่องมือยอดฮิตที่สุดของการทำแบบสอบถามออนไลน์ เพราะเริ่มต้นใช้ค่อนข้างง่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย แค่มี Google Account หรือ Gmail ก็สามารถสร้าง แล้วเปิดใช้งานได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่ถึง 15 นาที (แต่ถ้าใครไม่มี Gmail อาจต้องเสียเวลาสมัคร Account ใหม่เกิน 15 นาทีก่อน!) ฟีเจอร์ที่สำคัญของ Google…
Category Archives: การวิจัยตลาด
จากประสบการณ์ที่เราร่วมทำ Marketing Research กับนักวิจัยและบริษัทต่าง ๆ มา นี่คือ 10 สิ่งที่นักวิจัยมักทำพลาดโดยไม่รู้ตัว ทั้งในแง่ของการวิจัยการตลาด ที่พลาดเพราะตัวผู้วิจัยเองหรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องก็ตาม โดยหลายๆคน มักคิดว่าเป็นเรื่องเล็กที่ไม่น่าส่งผลกระทบกับการวิจัยมากนัก แต่แท้จริงแล้วกลับส่งผลกระทบต่อการวิจัยไม่น้อยเลย จนอาจทำให้ผลลัพธ์ที่ได้นั้นผิดพลาดจนไม่สามารถสรุปผล หรือไม่สามารถนำมาใช้งานใดๆได้อีก 1. เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่ หากเราเริ่มต้นด้วยการไปถามคำถามผิดคน หรือผิดกลุ่มเป้าหมาย คำตอบที่ได้ก็ถือว่าฟาวล์ ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ชัดเจนในการกรองคนเข้ากลุ่มตัวอย่าง เช่น อายุ อาชีพ ภูมิลำเนา พฤติกรรมการใช้จ่าย หรืออื่น ๆ ตามเงื่อนไขของการวิจัย แล้วเลือกเฉพาะกลุ่มคนที่ใช่มาเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่านั้นโดยไม่มีการผ่อนปรนใด ๆ 2. คำถาม วิจัยการตลาด ที่กำกวม ในการทำ Marketing Research นั้น หากคำถามที่ใช้ขาดความชัดเจน แฝงด้วยอคติหรือความหมายที่คลุมเครือ จะนำไปสู่การตีความที่กว้างเกินไปในขั้นตอนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล และอาจะทำให้ผลออกมาผิดพลาดได้ ตัวอย่างคำถามที่กำกวม เช่น การถามแบบกว้าง ๆ เช่น คำถาม “สนใจในผลิตภัณฑ์นี้หรือไม่” คนตอบส่วนใหญ่จะตอบว่าสนใจ แต่อาจไม่ได้แปลว่าสนใจซื้อเพียงอย่างเดียว อาจหมายถึงสนใจทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากขึ้นก็ได้…