fbpx

Category Archives: Customer insight

ส่องพฤติกรรมนักอ่านในยุคดิจิทัล

อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแรกๆ ที่ถูก disrupt โดยเทคโนโลยี ในช่วงระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาพบว่ารายได้ของธุรกิจสื่อและโฆษณาลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รายได้ของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี ทำให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนมากต้องปิดตัวลง นอกจากนี้การเข้ามาของ Digital Platform และสื่อออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ ทำให้ผู้บริโภคหันไปเสพสื่อในช่องทางเหล่านั้นมากขึ้นเพราะมีความสะดวก รวดเร็ว มากกว่าการเสพสื่อในรูปแบบเดิม  ถึงแม้จะมีหลายบริษัทที่ได้ปิดตัวลงแต่ยังมีบริษัทสื่อและสำนักพิมพ์จำนวนมากที่ปรับตัวผ่านช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้ ด้วยแนวทางการปรับตัวหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น MEB แพลตฟอร์มที่ผันตัวจากสำนักพิมพ์ขนาดเล็กสู่ผู้ให้บริการ E-Book จนกลายเป็นบริษัทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ได้ Mint Magazine ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบคอนเทนต์ด้วยกลยุทธ์ Fanbased Economy โดยนำศิลปินหรือผู้มีชื่อเสียงมาขึ้นปกนิตยสารเพื่อดึงดูดกลุ่มแฟนคลับของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตนิตยสารชั้นนำอย่างแพรว บ้านและสวน ชีวจิต ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนคอนเทนต์นำคอนเทนต์ทั่วไปมาลงในช่องทาง Social Media มากขึ้น และนำคอนเทนต์ที่ลงรายละเอียดเชิงลึกตีพิมพ์ในนิตยสารเพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านยังคงซื้อนิตยสารอยู่  นอกเหนือจาก Digital disruption แล้ว ยังมีเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นการอ่านที่เพิ่มขึ้นจากช่องทาง Digital เช่น…

ถอดรหัส “ความสุข” จากคนไทย 900 คน

Crowdabout เก็บข้อมูลเรื่องความสุขของคนไทยผ่าน Crowdabout consumer Panel จากคนไทยจำนวน 900 คน แบ่งตามเพศ สถานะ และอายุเป็น 3 ช่วงคือ 21-30,31-40,41-50 ปี ในจำนวนที่เท่ากัน เพื่อศึกษาถึงสภาพจิตใจ มุมมองและนิยามต่อความสุขของคนในช่วงอายุ เพศ และสถานะที่แตกต่างกัน ความโสดมีผลกับระดับความสุขไหม? หากแบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม ตามเพศ และสถานะ ผู้ชายโสดคือกลุ่มที่ไม่มีความสุขมากที่สุด  และผู้ชายมีคู่คือกลุ่มที่มีความสุขมากที่สุด ส่วนในกลุ่มผู้หญิง สถานะไม่มีผลต่อความสุขมากนัก คล้ายกับเรื่องความเหงาที่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ชายโสดเหงามากที่สุด ถามใจคนไทย 900 คน เรื่องความเหงา นอกจากนี้ยังพบว่าชายโสดกลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุด คือกลุ่มอายุ 31-40 ปี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่เพื่อนฝูงเริ่มแยกย้ายไปมีเวลากับครอบครัว แต่เมื่อผ่านช่วงอายุนี้ไปแล้ว ชายโสดจะมีแนวโน้มมีความสุขมากขึ้น ข้อมูลหนึ่งที่เราพบ และเห็นว่าที่น่าสนใจ คือ ข้อมูลความสุขในกลุ่มคนมีคู่ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่ออายุมากขึ้น ผู้หญิงจะเริ่มไม่มีความสุขในชีวิตคู่ และเริ่มคิดถึงความโสด ในขณะที่ผู้ชายมีคู่ มีความสุขมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น สอดคล้องกับเรื่องความเหงา ที่เห็นว่าผู้หญิงมีคู่จะเหงามากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น…

ถามใจคนไทย 900 คน เรื่อง “ความเหงา”

ความเหงา (loneliness) ถือเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้ ไม่มีมนุษย์คนไหนบนโลกใบนี้ที่ไม่เคยรู้สึกเหงา โดยมักเป็นความรู้สึกว่าตัวเองนั้นแยกออกจากสังคม (Social isolation) หรือรู้สึกว่าความต้องการทางสังคมไม่ได้รับการตอบสนอง (https://www.istrong.co/single-post/what-is-loneliness-and-whydo-weneed-to-feel-lonely)   Crowdabout ได้เก็บข้อมูลเรื่องความเหงาของคนไทยผ่าน Crowdabout consumer Panel จำนวน 900 คนแบ่งคนเป็น 4 กลุ่มในจำนวนคนที่เท่ากัน ตามเพศ สถานะ และแบ่งอายุในแต่ละกลุ่มเป็น 3 ช่วงคือ 21-30,31-40,41-50 ปี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม และกระจายอย่างสมบูรณ์ ทุกคนเหงาเหมือนกันไหม ใครเหงามากกว่ากัน? จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ชายมักเหงากว่าผู้หญิงและกลุ่มที่เหงาสุด คือกลุ่มผู้ชายโสดช่วงอายุ 21-30 ปี ในกลุ่มคนโสดเมื่ออายุมากจะรู้สึกเหงาน้อยลง แต่ในกลุ่มคนมีคู่เมื่ออายุมากขึ้นกลับเหงามากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง คือ เมื่ออายุมากขึ้นผู้หญิงโสดเหงาน้อยลง แต่ผู้หญิงมีคู่เหงามากขึ้นอย่างชัดเจน จากผลสำรวจพบว่า ความเหงาเป็น moment ที่มาแล้วก็ไป แต่เกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงเวลาที่เค้าเจอเรื่องดีๆ แล้วไม่รู้จะให้ใครมาร่วมยินดีด้วย หรือเจอเรื่องแย่ๆ แล้วไม่รู้จะเอาไประบายให้ใครฟังซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในคนโสดหรือมีคนมีคู่ก็ตาม ทำไมคนถึงยังโสด? เกือบ 70% ของคนโสดอยู่ในโหมดตั้งรับ คือหวังมีแฟนจากพรหมลิขิตมากกว่าความพยายามของตัวเอง เมื่อเทียบกันระหว่าง 2…

รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ อัพเดท Insight นักช้อปออนไลน์ 2023

ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการขยายตัวของธุรกิจ E-commerce และธุรกิจออนไลน์อื่น ๆ โดยเป็นผลมาจากปัจจัยด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนของผู้ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์สูงที่สุดในโลก ในขณะเดียวกันผู้บริโภคในหลายประเทศทั่วโลกต่างก็หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน และสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เร่งให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น Crowdabout จึงพาทุกท่านมาอัพเดท Insights ของนักช้อปออนไลน์ในปี 2023 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำความเข้าใจและเจาะลึกพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันได้ดีมากขึ้น Crowdabout ได้ทำการเก็บข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์จาก Crowdabout Online Panel ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,800 คน อายุระหว่าง 20-60 ปี ซึ่งได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างกว่า 98% เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และเสื้อผ้าเป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่เลือกซื้อมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าว 1-5 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งจะซื้อสินค้าอย่างน้อย 1-2 ชิ้น และสินค้าที่คนนิยมซื้อมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เสื้อผ้า ของแต่งบ้าน และของใช้ภายในออฟฟิศ ตามลำดับ Shopee เป็นแพลตฟอร์มซื้อสินค้าออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้มากที่สุด แพลตฟอร์ม E-Commerce ที่กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ Shopee รองลงมาเป็น…

ส่องพฤติกรรมสายมู เมื่อความเชื่อส่งผลต่อโอกาสทางธุรกิจ

การดูดวงและความเชื่อด้านโหราศาสตร์อยู่คู่กับคนไทยมานานนับร้อยปี และในช่วงสิบปีให้หลังจะเห็นได้ว่ากระแสความนิยมของการดูดวง หรือความเชื่อเรื่องโหราศาตร์หลากหลายแง่มุม หรือที่เรียกกันว่า มูเตลูก็เพิ่มขึ้นทวีคูณ จากเดิมที่ความเชื่อในเรื่องนี้ัมักจำกัดอยู่เพียงคนบางกลุ่ม แต่ในปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวกลับแพร่กระจายไปสู่คนทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุในประเทศอย่างไร้ขอบเขต  การดูดวงเป็นกิจกรรมหนึ่งของกิจกรรมในกลุ่มมูเตลูที่รับความนิยมมากที่สุด  สะท้อนให้เห็นว่าคนในปัจจุบันจำนวนมากต้องการที่ปรึกษาให้ช่วยชี้ทางออกสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น  จากข้อมูลหลายแหล่งพบว่าความไม่แน่นอนและความกังวลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้คนจำนวนมากหันมาพึ่งพาการดูดวงหรือโหราศาสตร์มากขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่า คนไทยกว่า 52 ล้านคนหรือคิดเป็น 75% ของประชากรมีความเชื่อในเรื่องดูดวง นอกจากนี้ยังพบว่าคนยุคใหม่เลือกที่จะใช้บริการหมอดูมากกว่าจิตแพทย์ โดยให้เหตุผลว่าสามารถเข้าถึงหมอดูได้ง่ายกว่าการเข้าหาจิตแพทย์และในบางครั้งก็ต้องการเพียงแค่คนรับฟังปัญหาเท่านั้น จากกระแสการดูดวงที่เพิ่มขึ้นนี้ Crowdabout จึงได้ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมายอายุ 20-65 ปี จำนวน 250 คน จาก Crowdabout Online Panel ถึงพฤติกรรมในการดูดวง ซึ่งทำให้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมเหล่านี้ โดย Crowdabout ได้รวบรวมประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูดวงของคนในปัจจุบัน ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการดูดวงทุก ๆ 2-5 เดือน โดยมีค่าใช้จ่ายในการดูดวงเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 300-500 บาท โดยกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้มากขึ้นมีแนวโน้มที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการดูดวงเพิ่มมากขึ้น ด้วยสาเหตุหลักของการดูดวงคือมากมีเรื่องที่อยากรู้ ต้องการคนรับฟัง และมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจ โดยหัวข้อในการดูดวงที่คนให้ความสนใจมากที่สุดคือเรื่องการงานและการเงิน นอกจากนี้เรายังพบว่า ศาสตร์ดูดวงที่คนให้ความสนใจมากที่สุดคือไพ่ยิปซี…

เจาะลึกพฤติกรรมคนเลี้ยงสัตว์กับแนวโน้มอาหารสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย

ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากพฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจากข้อมูลพบว่าหลายครอบครัวเลือกที่จะเลี้ยงสัตว์แทนการมีลูก และจากเทรนด์ Pet Humanization ทำให้ผู้คนเลี้ยงสัตว์เหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวมากกว่าเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วไป นอกจากนี้การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นเพื่อนในยามเหงามากขึ้น จากปัจจัยในข้างต้นเหล่านี้ทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบรรดาเจ้าของสัตว์เลี้ยงยินดีจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงที่ดีและมีคุณภาพ นอกจากนี้จำนวนการเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นต่าง ๆ ในตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง ว่าตลาดสินค้านี้มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง ข้อมูลในส่วนนี้ Crowdabout ได้ทำการศึกษามุมมองและความคิดเห็นผู้บริโภคเชิงลึกผ่านการเก็บแบบสอบถาม โดยในครั้งนี้ มีชาว Crowdster มาร่วมให้คำตอบทั้งหมด 3,877 คน การใช้จ่ายกับอาหารสัตว์เลี้ยง ช่วงค่าใช้จ่ายของอาหารสัตว์มีความหลากหลาย โดยคนส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 300 บาท/เดือน จากข้อมูลของชาว Crowdster ที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ พบว่ามากกว่า 29% มีค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารสัตว์ 300 – 500 บาท/เดือน ซึ่งมีความใกล้เคียงกับสัดส่วนของกลุ่มคนที่เสียค่าใช้จ่ายไปกับอาหารสัตว์ในช่วง 500 – 800 บาท/เดือน และ 800 – 1,500 บาท/เดือน โดยคนสองกลุ่มนี้จะมีสัดส่วน 23% และ 22% ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า…