หลายปีมาแล้วที่ Social Media เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะกับคนไทยที่มียอดการใช้งาน Instagram มาเป็นอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว ธุรกิจต่าง ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ปรับตัวเพื่อขยายช่องทางในการเข้าถึงและติดต่อลูกค้าผ่านทาง Instagram กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เสื้อผ้า กระเป๋า อาหารและเครื่องดื่ม และอื่น ๆ อีกมากมาย Instagram Marketing หรือ การตลาดผ่าน Instagram จึงเข้ามามีบทบาทในการทำการตลาดของธุรกิจในปัจจุบันอย่างมาก
Instagram ก็ได้ตอบโจทย์โดยการสร้างฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการทำ Instagram Marketing ตั้งแต่ การวิจัยตลาดจนไปถึงการปล่อยโฆษณาลงบนเพจฟีด โดยบทความนี้จะโฟกัสในเรื่องของฟีเจอร์สำหรับการวิจัยตลาด จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ
1. เข้าใจความต้องการของลูกค้าด้วย Poll Sticker
ลูกเล่นหนึ่งของ Instagram ที่ทั้งบริษัทใหญ่ๆและอินฟลูเอนเซอร์ดัง ๆ ใช้ คือ Poll Sticker ซึ่งเป็นการตั้งคำถามผ่าน IG story และให้ผู้ที่เข้ามาดู IG story สามารถตอบคำถามดังกล่าวได้ด้วยการโหวตคำตอบ โดยเพียงแค่เราตั้งคำถามที่ต้องการสำรวจจากกลุ่มลูกค้า และตั้งคำตอบอีก 2 อย่างให้พวกเขาได้เลือก เช่น ใช่-ไม่, ชอบ-ไม่ชอบ, ดี-ไม่ดี เป็นต้น โดยทั้งคำถามและคำตอบก็ควรเป็นอะไรที่สั้น ๆ กระชับ ใช้เวลาไม่นานในการทำความเข้าใจให้เหมาะสมกับการใช้งาน IG Story ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบถึงความชอบ รสนิยม หรือความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ ซึ่งเราจะได้รับข้อมูลคำตอบจากลูกค้าแบบ Real Time
โดย Poll Sticker ถือเป็นฟีเจอร์ที่หลายแบรนด์ดังนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายผ่าน Business Accounts ของแต่ละแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น McDonalds , Adidas , Sephora เพื่อวิจัยตลาดและนำข้อมูลไปทำแคมเปญอย่างมีประสิทธิผล
2. ใช้ Emoji Slider วัดความชอบและความเข้าใจต่อสินค้า
ความรู้สึกของลูกค้าเป็นหนึ่งในดัชนีที่สำคัญในการทำ Instagram Marketing หนึ่งในวิธีวัดความรู้สึกของลูกค้าก็คือการใช้ Emoji Slider ซึ่งเป็นอีกฟีเจอร์ของ IG story ที่สามารถสร้างคำถาม และให้กลุ่มลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ผ่านการลาก Emoji Icon เป็นระดับ (มาก-น้อย) ได้ โดยเราสามารถดูคำตอบเป็นแบบรายบุคคล (Individual Answers) หรือเป็นผลเฉลี่ยรวมก็ได้ (Average Answer) ดังภาพ
เราสามารถสร้างแบบสอบถามสั้น ๆ ผ่าน IG story โดยพิมพ์คำถามที่ต้องการสำรวจ แล้วเลือก Emoji Icon ที่ตรงกับอารมณ์ของคำถามและคำตอบมากที่สุด เมื่อลูกค้าเข้ามาเห็น IG story ของแบรนด์ก็จะสามารถตอบแบบสอบถามได้ โดยการเลื่อน Emoji Icon ไปมา (ซ้าย-ขวา) ตามระดับที่ตรงกับความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อคำถามนั้น ๆ ซึ่งการทำแบบสอบถามโดยใช้ Emoji Slider นอกจากเป็นตัวชี้วัดความชอบที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือแบรนด์ของคุณได้แล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคของการทำ Instagram Marketing ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ติดตามแบรนด์ เพื่อสร้างการเข้าถึงที่มากขึ้น และความไว้วางใจที่พวกเขามีต่อแบรนด์มากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย ตัวอย่าง แบรนด์ดังที่ใช้การทำ Emoji Slider เช่น H&M (ซ้าย) Missguided (ขวา) เป็นต้น
3. ใช้ Ask me a Question ในการหา Pain Point ของแบรนด์
Pain Point ของแบรนด์นับว่าเป็นจุดอ่อนทางธุรกิจอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งจนไม่อาจมองข้ามได้ โดยหากเราทราบ Pain Point จากลูกค้าโดยตรง ก็จะสามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างสูงสุดนั่นเอง จริงๆแล้ว เราสามารถหา pain point ผ่าน Instagram Marketing ได้เช่นกัน
ฟีเจอร์ Ask The Question เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ใน IG Story ที่เราสามารถตั้งคำถามแบบปลายเปิดเอาไว้ใน Story เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาตอบคำถามของเราได้อย่างตรงประเด็น โดยที่เมื่อมีคนตอบเราเข้ามาใน IG Story แล้ว เราก็ยังสามารถเลือกแชร์คำตอบนั้นลงไปใน Story ได้อีกด้วย ซึ่งในการโพสต์ Story นั้นเราก็สามารถเลือกตั้งคำถามเพื่อถามถึง Pain Point ที่ลูกค้ามี รู้สึก หรือพบต่อแบรนด์ของเรา เพื่อที่จะได้รวบรวมปัญหาต่าง ๆ เอาไว้เป็นข้อมูลและสถิติ และนำไปหาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้องและตรงจุด
4. ตรวจสอบว่าลูกค้ารู้จักเราดีแค่ไหนด้วย Quiz Question
การตอบคำถามจากตัวเลือก 4 ข้อแบบปรนัยอาจดูน่าเบื่อ แต่สำหรับการทำ Instagram Marketing นั้น เราสามารถแก้ได้ด้วย Quiz Question ใน IG Story โดยในฟีเจอร์ Quiz Question เราจะสามารถตั้งคำถาม และคำตอบที่ถูกต้อง 1 ข้อ กับคำตอบหลอกอีก 3 ข้อเอาไว้ เช่น การถามว่า แบรนด์เราเกี่ยวกับอะไร สินค้าใหม่ของแบรนด์เราคือตัวไหน เพื่อใช้อัตราการตอบถูกและผิดมาใช้ในการวัดว่าลูกค้ารู้จักแบรนด์เรามากน้อยเพียงใด หรือรู้จักสินค้าใหม่ของเราหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลทางสถิติดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการวางแผนทางการตลาดต่อไป
ตัวอย่างการใช้ Quiz Question เช่น Booking.com ที่ตั้งคำถามสำหรับนักเดินทางว่า Where we are ? ที่อาจเป็นคำถามง่าย ๆ มองผิวเผินอาจไม่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือเป็นข้อมูลอะไรได้ ทว่า Booking.com ก็ได้ซ่อนโปรโมชั่นบริการของเขาเอาไว้ในสตอรี่ถัดไป เพื่อเพิ่มโอกาสหรือดึงให้กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้าของพวกเขาโดยง่ายขึ้น
5. ใช้ Swipe Up เพื่อแทรกแบบสอบถามหรือแนบเว็บไซต์
สำหรับฟีเจอร์ Instagram Marketing อย่าง Swipe Up นี้เป็นฟีเจอร์ที่ค่อนข้างพิเศษ เนื่องจากสามารถใช้ได้เฉพาะบัญชีที่มียอดผู้ติดตามเกินหนึ่งหมื่นคนเท่านั้น โดย Swipe Up จะนำผู้ที่กดเข้ามาดู IG Story ของเราไปสู่หน้าเว็บไซต์หรือ Landing Page ของแบรนด์เราที่เราตั้งค่าเอาไว้ได้ เพียงแค่กดปัดหน้าจอขึ้นเท่านั้น กล่าวคือ Swipe Up ก็คือ See More นั่นเอง
สำหรับการใช้งาน Swipe Up นั้นสามารถวัดจำนวนลูกค้าที่มีความสนใจต่อแบรนด์หรือสินค้าของเราได้ค่อนข้างแม่นยำ เพราะจะเป็นการคัดกรองลูกค้าโดยตรง ซึ่งหากลูกค้าที่เข้ามาดู Story ของเราแล้วไม่สนใจก็จะไม่ปัดขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ให้กับแบรนด์ของเราได้อีกด้วย หรืออาจจะสร้าง Landing Page ที่เป็นแบบสอบถามออนไลน์เอาไว้ในส่วนนี้ก็ได้เช่นกัน Swipe Up จึงเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ดี Swipe Up จะพาลูกค้าเข้ามาตอบแบบสอบถามให้กับแบรนด์ของเราได้ เช่น งาน Oasis Music Festival 2019 ที่ Morocco ที่ได้แนบแบบสำรวจความพึงพอใจสำหรับผู้ร่วมงาน (Satisfaction Research) เอาไว้ใน Swipe Up เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถตอบแบบสอบถามได้อย่างสะดวกและทั่วถึง โดยมีบัตรเข้าร่วมงานนี้ในปี 2020 เป็นของรางวัล
ทั้งหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่างฟีเจอร์ Instagram Marketing ที่ใช้เร็วและง่าย ถ้าคุณอยากจะทำให้การวิจัยตลาดเป็นเรื่องที่ทำง่าย ๆ เช่นนี้ สำหรับธุรกิจคุณ