Insight ของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ความงาม
แบรนด์เครื่องสำอางค์แต่ละแบรนด์ ได้มีการครอบครองส่วนแบ่งยอดขายในแต่ละกลุ่มของตัวเอง ตามพื้นที่ช่องทางค้าปลีกขายต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสปา ทีวีช็อปปิ้ง หรือแม้กระทั่งตู้ขายของอัตโนมัติตามสนามบิน
จากการสำรวจตลาดของ Pymnts.com ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อผลิตภัณฑ์ความงามในตลาดอเมริกา ที่นอกเหนือไปจากเรื่องราคาและตำแหน่งที่ตั้งของร้าน ก็คือเรื่องของโปรโมชั่นพิเศษ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ และการสะสมคะแนนของร้าน
เช่นเดียวกับอีคอมเมิร์ซของสินค้าประเภทแฟชั่นและผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง ที่แบรนด์สามารถทำการตลาดออนไลน์ให้ล้ำมากขึ้น โดยใช้กลยุทธ์แบบสร้างประสบการณ์พิเศษเฉพาะช่องทางออนไลน์เท่านั้น
เทรนด์ธุรกิจความงาม เรื่องผลิตภัณฑ์กลุ่มพิเศษจากวัตถุดิบธรรมชาติ
ยิ่งกว่าช่องทางการขายก็คือฑ์กลุ่มพิเศษจากวัตถุดิบธรรมชาติ จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ผู้บริโภคในภาพรวมของอเมริกา ทำให้ผู้บริโภคเริ่มพิจารณาผลิตภัณฑ์ ด้วยปัจจัยทั้งด้านคุณสมบัติและส่วนผสมวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ นอกเหนือไปจากเรื่องราคา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ขายพยายามจะโปรโมทสินค้าในเรื่องคุณภาพของสินค้าที่เหนือคู่แข่ง มากกว่าที่จะห้ำหั่นกันด้วยราคา
โดยมี 3 เรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากคือ Natural, Organic และ Clean ซึ่งที่จริงแล้วในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์มีส่วนแบ่งตลาดของสินค้า Organic มากที่สุด คำว่า Clean Beauty และ Organic Makeup ไม่ได้เป็นแค่คำโฆษณาที่สวยหรู การเติบโตของ Organic ในตลาดโลกนั้นเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง 2 เท่าตั้งแต่ปี 2018 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง $54.5 พันล้านในปี 2027
คำจำกัดความของสินค้า Organic นั้น คือจะต้องมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตที่ไม่มีสารพิษปนเปื้อนเป็นมาตรฐาน แต่เนื่องจากไม่มีกฎระเบียบที่เข้มงวด การผลิตแบบผลิตภัณฑ์ความงามแบบ Organic จากธรรมชาติ จึงอาจเกิดช่องว่างระหว่างการตีความตามมาตรฐานส่วนตัว และการตีความของหน่วยงานที่ควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดช่องโหว่ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งมีผลต่อภาพรวมของ Organic ในอุตสาหกรรมความงาม
ผู้ประกอบการในธุรกิจความงามที่จะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ ควรที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นแบบของความยั่งยืน เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มตระหนักเรื่องสารพิษที่อาจมีการตกค้างในเครื่องสำอางค์มากขึ้น และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่ปราศจากน้ำหอม โดยใช้น้ำมันหอมระเหยที่เป็นส่วนผสมจากธรรมชาติแทน ก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ในอนาคต
เทรนด์ธุรกิจความงาม เรื่องส่วนแบ่งตลาดและแนวโน้มการเติบโต
Skincare ครองส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นถึง 40% ในปี 2019 สอดคล้องกับกระแสที่ผู้บริโภคมีความตระหนักรู้เรื่องอันตรายของรังสี UV จากแสงแดดมากขึ้น หลักฐานคือสินค้า Skincare ในหมวดครีมกันแดด และครีม Anti-aging ถนอมผิวให้อ่อนเยาว์ ดังนั้นแบรนด์ Skincare ทั้งหลายก็จำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ Skincare ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นเพื่อตอบรับความคาดหวังของผู้บริโภค
อุตสาหกรรมความงามในภาพรวมกำลังเติบโตยิ่งขึ้นทั่วโลก โดยที่ในหมวดเครื่องสำอางค์และสกินแคร์ก็สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นได้ถึง 3.5% ในตลาดอเมริกาปี 2021 และมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าถึง $89.3 พันล้านในตลาดโลกปี 2025
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Clean Beauty, Organic Makeup และ Natural Products
- การรับรองจาก Soil Association and Cosmos องค์กรด้านอาหารและการเกษตรร่วมมือกับหน่วยงานด้านต่าง ๆ ที่จะออกใบรับรองสินค้าด้านออร์แกนิก เช่น ได้รับการออกใบรับรองจาก Cosmos Organic (ได้รับการสนับสนุนจาก Soil Association) หมายความว่า ส่วนผสมทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ เป็นออร์แกนิก 95% ปราศจากการทารุณกรรม มีแหล่งที่มาที่ยั่งยืนและตรวจสอบย้อนกลับได้ ตามหลักเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การรับรองจาก NaTrue ปัจจุบันเป็นโลโก้ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับเครื่องสำอางจากธรรมชาติ เพราะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เคร่งครัดว่าแต่ละผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามข้อกำหนดเพื่อที่จะระบุว่าเป็น เครื่องสำอางจากธรรมชาติ โดยที่ 95% ของส่วนผสมจากธรรมชาติ ได้รับการรับรองการผลิตอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นที่ผ่านการรับรองตามเกณฑ์ NaTrue Label Criteria ยังเป็นไปตามมาตรฐานความยั่งยืนและปราศจากความโหดร้าย
- การรับรองจาก Ecocert หน่วยงานรับรองแห่งแรกที่พัฒนามาตรฐานสำหรับ เครื่องสำอางจากธรรมชาติและออร์แกนิก มี 2 ฉลากด้วยกัน คือ Natural Cosmetic หมายความว่ามีส่วนผสมจากพืชอย่างน้อย 50% ในสูตร และส่วนผสมขั้นต่ำ 5% ต้องมาจากการทำเกษตรอินทรีย์ และ Organic Cosmetic หมายความว่าอย่างน้อยส่วนผสม 95% ต้องมาจากพืช และอย่างน้อย 10% ของส่วนผสมทั้งหมดต้องมาจากการทำเกษตรอินทรีย์
เนื้อหาบางส่วนได้รับข้อมูลมาจาก harpersbazaar