สีแบรนด์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างเอกลักษณ์บอกเล่าความเป็นแบรนด์ของคุณให้ลูกค้ารับรู้ เพราะ “สี” สามารถสร้างความประทับใจและก่อให้เกิดความรู้สึก ไปจนถึงการตีความหมายว่าโทนสีนี้กำลังสื่อสารอะไรกับเราเมื่อเรามองเห็น
แต่ในปัจจุบันเราจะพบว่ามีหลายแบรนด์ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันใช้โทนสีที่มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง เหมือนกลายเป็น standard ความเข้าใจ การรับรู้ในมุมกว้างไปแล้วว่า ถ้าเห็นโทนสีนี้หรือกลุ่มสีนี้แบรนด์ที่เรากำลังมองอยู่เป็นธุรกิจประเภทใด
วันนี้เราจึงมายกตัวอย่างโทนสีที่กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ นิยมหยิบยกมาใช้สร้างเป็น Palette สีของแบรนด์ เผื่อเป็นไอเดียตั้งต้นให้คุณที่กำลังเริ่มต้นสร้างเอกลักษณ์ให้แบรนด์
สีแบรนด์ ของแบรนด์ต่าง ๆ
มีการเก็บข้อมูลจาก 100 แบรนด์ระดับโลก
- 33% ใช้สีฟ้า 29% ใช้สีแดง 28% ใช้สีดำหรือโทนสีเทา 13% ใช้สีเหลือหรือสีทอง
- 95% ของแบรนด์ทั้งหมด ใช้เพียง 1 หรือ 2 สีเท่านั้น มีเพียง 5% เท่านั้นที่ใช้สีมากกว่า 2 สี
- 41% ใช้โลโก้ที่เป็นตัวอักษาเท่านั้น และมีเพียง 9% เท่านั้นที่ใช้โลโก้โดยไม่มีชื่อแบรนด์
สีแดง
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจด้านการเกษตร
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลักคือ ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการบิน และธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
สีม่วง
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยี และธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลักคือ ธุรกิจการบิน ธุรกิจอาหาร ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจด้านการเกษตร และธุรกิจพลังงาน
สีฟ้าหรือสีน้ำเงิน
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจการบิน ธุรกิจด้านการเกษตร และธุรกิจพลังงาน
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ธุรกิจอาหาร และธุรกิจยานยนต์
สีเขียว
กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจอาหาร ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจพลังงาน
กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจด้านการเกษตร และธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ
กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจการบิน ธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
สีเหลือง
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจพลังงาน
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจด้านการเกษตร และธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจการบิน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
สีส้ม
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจเทคโนโลยี และธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจด้านการเกษตร
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการบิน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และธุรกิจพลังงาน
สีน้ำตาล
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และธุรกิจด้านการเกษตร
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจพลังงาน
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยี และธุรกิจการบิน
สีดำ
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ธุรกิจเทคโนโลยี และธุรกิจยานยนต์
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจด้านการเกษตร
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจการบิน ธุรกิจอาหาร และธุรกิจพลังงาน
สีขาว
- กลุ่มธุรกิจที่ใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และธุรกิจสินค้าและบริการด้านสุขภาพ
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้สีแดงเป็นหลัก คือ ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจการบิน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจด้านการเกษตร และธุรกิจพลังงาน
- กลุ่มธุรกิจที่ไม่นิมยมในการสีแดงเป็นหลัก แต่อาจจะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ธุรกิจการเงิน และธุรกิจอาหาร
ธุรกิจอาหารและร้านอาหาร
มักเลือกใช้โทนสีอบอุ่นที่ดึงดูดความสนใจและกระตุ้นความอยากอาหารเป็นสีหลักของแบรนด์ เช่น สีแดง สีส้ม สีเหลือง และมักจะใช้สีที่สดมากกว่าโทนพาสเทลหรืออื่น ๆ เพื่อสื่อถึงความสดใหม่ของวัตถุดิบเป็นการสื่อสารถึงโภชนาการและคุณภาพชีวิตที่ดี
ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แน่นอนว่าเราจะพบสีเขียวถูกใช้เป็นสีหลักเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ หรือสีโทนสีน้ำตาลเพื่อให้ดูเป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจเพื่อสุขภาพ
ส่วนใหญ่เลือกใช้สีน้ำเงินเป็นสีหลักของแบรนด์ เพื่อแสดงถึงความสะอาด ความน่าเชื่อถือ ความวางใจได้ ความรับผิดชอบทางการเงิน และความปลอดภัย เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัยในบริการ
สกินแคร์และเครื่องสำอางค์
การใช้สีของกลุ่มธุรกิจนี้มักขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและช่วงวัยของกลุ่มเป้าหมาย แต่หากเลือกโทนสีที่เราเห็นได้บ่อยที่สุดคงหนีไม่พ้นโทนสีฟ้าและสีขาวเพื่อสื่อถึง ความน่าเชื่อถือ ความสะอาด ปลอดภัย บริสุทธิ์ รองลงมาที่ได้รับความนิยมจะเป็นโทนสีชพูหากเป็นสินค้าสำหรับผู้หญิง
ธุรกิจเทคโนโลยี
ส่วนใหญ่มักเลือกใช้สีน้ำเงินและเทา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความไว้วางใจ ความฉลาด และประสิทธิภาพ อีกหนึ่งเหจุผลอาจเพราะต้องการสื่อถึงความล้ำสมัย ไฮเทค หรูหราอยู่เหนือผู้อื่น
นี่เป็นเพียงแนวทางในการเลือกสีให้กับแบรนด์ของคุณตามประเภทของธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้น ๆ หากคุณไม่รู้จะใช้สีอะไรในการออกแบบ Brand Identity การเลือกใช้สีที่อยู่ในเฉดหรือโทนสีเดียวกันกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ไม่เลว แล้วค่อยไปสรรค์สร้าง Identity ในส่วนอื่นแทน